วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

Book อริยาบทสะอาด

อริยาบทสะอาด

 

ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังที่ผ่าน มานี่ เราสวดมนต์กันไม่ค่อยได้แปล อาจจะเป็นความเกียจคร้าน หรืออาจเป็นความลำบากหรือยังไงก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆ ก็คือมัน จะขัดต่ออุดมการณ์ และกุศโล-บาย ซึ่งใครๆ ก็คงจะเคยอ่านใน บทสวดมนต์แล้วว่า เจตนาในการ สวดมนต์นั้น ก็เพียงเพื่อจะทำให้ เราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ถ้าเราไม่รู้จักคำสวดหรือไม่รู้ว่าสวดแล้ว ได้ประโยชน์อะไร มันก็คงจะรู้จะตื่น จะเบิกบานอะไรกับใครเขาไปไม่ได้เป็นแน่ เพราะฉะนั้นก็ต้องถือว่าที่นี่เป็นกฎที่ต้องตายตัว แล้วก็รับปฏิบัติกันไว้เป็นปกติก็คือ การสวดมนต์แต่ละครั้งต้องแปล 1 วัน ไม่แปล 1 วัน แต่ยังไงก็ต้องมีบทแปลก็เพราะฤทธิ์ที่เราไม่รู้จักภาษาของสวด ต่างๆ แม้แต่เวลาไปงานศพลูกหลาน ญาติหรือชาวบ้านคนสวดเองก็ตาม คนที่ฟังเขาสวดก็ตาม บทสุดท้ายที่เขาจะต้องสวดให้ฟังเป็นนิจศิลเป็นปกติ ก็คือ เตสังโว ปะสะโมสุโข การเข้าไปสงบระงับ แห่งสังขาร ถือว่าเป็นความ สุขในโลกเป็นความสุขอย่างยิ่ง "สังขาร" ตัวนี้ แปลว่าการปรุงแต่ง ถ้าจะแปลกอีกตามใจหลวงปู่ ก็ต้องบอกว่าการไม่ปรุงแต่งในสังขารทั้งปวง ถือว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง
พระ เถระ เณรชี เวลามีงานสวดศพ สวดผี งานกินผี งานเผาผี หรือว่างานบรรจุกระดูกก็ต้องสวดบทนี้เป็นบทสุดท้าย เตสังโว ปะสะโมสุโข ก็ฟังกันมาตั้งกี่ร้อยปีแล้วละ ก็เห็นฟังกันแค่นั้น และก็จบลงกันตรงนั้น ไม่มีใครรู้เลยว่า มันแปลว่าอะไร จริงๆ แล้วเขาสวดเพื่อที่จะให้คนอยู่ได้ฟังว่า "การได้สงบระงับแห่งสังขาร คือความปรุงทั้งปวง เป็นความสุขในโลกเป็น ความสุขอย่างยิ่ง" เขาเจตนาจะสอนคนเป็นให้รู้จักสงบระงับอย่าเศร้าโศกโศกา อาดูร พูลเทวษ อย่าปรุงแต่งไปตามเวทนาแห่งความปรุง หรืออย่าปรุงไปตามระบบสังขาร เพราะสังขารที่ปรุงขึ้นมาเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
เมื่อ ครู่นี้เราก็พึ่งจะสวดไปอยู่หยกๆ บทสวดอันนั้นมันตรงกับบทที่สอนไปเมื่อไม่นานมานี้ทีเดียวละว่า "รูปังอนิจจัง รูปไม่เที่ยง" เวทนา อนิจจา เวทนาไม่เที่ยง" ... "สัญญาอนิจจา สัญญาไม่เที่ยง"..."สังขาราอนิจจาสังขารไม่เที่ยง" ..."วิญญาณังอนิจจัง วิญญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์"...เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป การเข้าไปสงบระงับในรูป ในเวทนา และวิญญาณ ก็ถือว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นบทสวดมนต์ของผู้ที่ปฏิบัติ หรือนักปฏิบัติ "นักปฏิบัติ" ตัวนี้แปลว่า ผู้ปฏิบัติบ่อยๆ ปฏิบัติอย่างยิ่ง ปฏิบัติเป็นปกติ
"นัก" ตัวนี้แปลว่าบ่อยๆ หรือผู้ชำนาญมันก็จะต้องเป็นบทสวดมนต์ของ ผู้รู้ ผู้ตื่น คนสวดก็ฟังแล้วรู้เรื่อง คนฟังเขาสวดก็รู้เรื่อง คนฟังเขาสวด ก็รู้เรื่อง มันก็อาจจะเป็นนักปฏิบัติ หรือปฏิปัดไป มันไม่ใช่ปฏิบัติ เพราะว่ามันไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่รู้เรื่องมันจะไปทำเรื่องอะไรให้ได้ยังไง หรือว่าจะไปหยุด เรื่อง ดับเรื่อง แก้เรื่อง หรือว่าสงบในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไรมันก็คงจะเป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นถือว่าเป็น กฎตายตัวของที่นี่ว่าสวดมนต์นั้นเราสวด เพื่อ ที่จะเน้นให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมานั้น จากความรู้เรื่อง รู้เรื่อง ในการสวด คนฟังเราสวดเขาก็รู้เรื่อง เราผู้สวดเองก็รู้เรื่อง เราต้องรู้เรื่องรู้ราวในบทที่เราสวด แล้วก็สวดให้ตัวเราฟัง อย่าให้สวดคนอื่นเขาฟัง นี่คือประเด็นที่ต้องการให้รู้เอาไว้ เพราะเท่าที่ผ่านๆ มาพวกเราขยันจะสวดมนต์ไม่แปลกันเป็นประจำ ก็เลยกลายเป็นความไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรกันไป ก็สวดไปอย่างนั้น
อีก อย่างหนึ่งก็คือ "กฎของหอพระกรรมฐาน" การเข้ามาสู่หอพระกรรมฐาน เขามีกฎเกณฑ์กติกาบ่งบอกไว้ 5-6 ข้อ ผู้ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ไม่ใช่มาเบียดบังผลประโยชน์ของพวกเรา แต่เรื่องของเรื่องก็คือ เพื่อที่จะสร้างเสริมผลประโยชน์ให้แก่พวกเรา และการที่เราก้าวเข้ามาสู่หอพระกรรมฐาน และต้องสงบสำรวมเรียบร้อยนั้น ก็เป็นกิริยาของการกระตุ้นเตือนตนให้เป็นผู้ตื่นขึ้นมา จากความโง่ หลงและหลับใหล ไม่เข้าใจอะไรการที่เราจะ ต้องระแวดระวัง ต่อกิริยาการที่เข้ามาสู่หอพระกรรมฐานด้วยความรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่สิงสถิต แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของวิญญาณ ท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือที่อยู่อาศัยของพระศาสดาพระพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งปวง ก็เพราะต้องการให้เราระแวดระวัง ระมัดระวังกาย วาจา ใจ ของตน พอมัน เกิดความระแวดระวัง ระมัดระวัง กิริยาอาการ กาย วาจา ใจแล้ว มันก็จะ เป็นผู้สงบ สำรวม มันก็ตรงกับคำว่า เตสังโว ปะสะโม สุโข การเข้าไปสงบระงับแห่งสังขารเป็นความสุขอย่างยิ่ง
เมื่อ ความสงบ สำรวม ระแวดระวังเกิดขึ้น นั่นก็ถือว่าเป็นการเจริญมหาสติ เมื่อเราเจริญมหาสติให้รู้เนื้อ รู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถทั่วพร้อมความกลัว แห่งอารมณ์ทั้งปวงก็ไม่ปรากฏความคิดยุ่งฟุ้งซ่าน รำคาญ อึดอัดขัดเคืองก็จะไม่เกิดขึ้นเป็นแน่ เพราะเราระแวดระวังตัวเราไม่ว่าจะเป็น การยืน เดิน ง นอน ย่าง ก้าว เหยียดคู้ และก็ดูตัวเรา อิริยาบทเหล่านี้นั้น มันเป็น"อิริยาบถของผู้สะอาด"
เพราะฉะนั้น จึงอยากจะบอก ท่านทั้งหลายเอาไว้ว่า อย่าได้ไปประกาศให้ใครเขารู้ว่าเราเป็นผู้มี ธรรมะ ถ้าเมื่อใดที่ ที่นั่งของเรายังสกปรกที่นอนของเรายังรกรุงรัง ผ้าผ่อนท่อนสไบของเรายังมีกลิ่นเหม็นสาบ หรือยังมีคราบเหงื่อไคลเยอะแยะ กิริยาอาการของเรายังไม่ละเมียดละไมอ่อนช้อยอ่อนน้อมถ่อมตน สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวทำลายธรรมะ และอย่างไปบอกใครว่าเรารู้ธรรมะ เราเข้าใจธรรมะลึกๆ และควรจะสอนธรรมะเห็นพูดสอนธรรมะนั่งสมาธิกรรมฐานในหอนี้ ก็เป็นสิบๆ วันแล้ว ที่ไหนยังมีฝุ่นก็ยังมีเหมือนเดิม ตรงไหนที่ยังมีรอยตีนหมาอยู่ ก็ยังมีเหมือนเดิม ในห้องส้วมที่ยังมีคราบอะไรต่อมิอะไรติดอยู่ ตามซอก ตามมุมก็ยังเหมือนเดิมรอบๆ บริเวณยังสกปรกรกรุงรัง อย่าง ไรก็ยังเหมือนเดิม บนศาลาน้ำที่อยู่ในบ่อบัว ในอ่างบัวแห้งอย่างไร ดูกี่วันกี่วันก็ยังเหมือนเดิม รอบๆ มีขยะกล่องนม มากัดเล่น มีกากมะพร้าวหมากัดเกลื่อนอย่างไรก็ยังเหมือนเดิม ก็ใช้เป็นที่ประชุม ฟังธรรม ใช้เป็นที่กินที่นอน สำหรับนักปฏิบัติเหมือนเดิมอย่างนี้มันจะเป็นผู้มีธรรมะไปได้อย่างไร
ก่อน นี้หลวงปู่อยู่กัน 2-3 รูปเนี้ยะ สะอาด เรียบร้อย ถือว่าเรา แก่ธรรมะ แก่กระทำ ผู้ที่มีธรรมะเขาลงมือกระทำนะ ไม่ใช่ธรรมะแล้วนั่งบ่นอย่างเดียว และอยู่กันร่วมครึ่งร้อย อะไรๆ ก็พลอยเละเทะไปหมด นี่แสดง ว่ายังไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม พูดอย่างนี้ไม่ได้บ่นให้พวกเราไม่สบายใจแต่ต้อง การจะพดูให้พวกเราได้รู้ว่า หัวใจของพวกเรายังไม่ได้มีธรรมะสิงสู่ เข้าไปอยู่เลย มันเป็นเพียงแค่การฟัง จำ การปฏิบัติธรรมะด้วยสัญญาเท่านั้นเอง
"สัญญา" คือ ความทรงจำเท่านั้นเอง ถ้าตราบใดที่เราเห็นขยะ แล้วยังหน้าชื่นตาบานไปได้ แสดงว่าเรายังไม่เป็นผู้มีธรรมะ
ตราบ ใดที่เรายังเห็นของที่วางอยู่เลอะเทอะ ไม่เข้าที่เข้าทางแล้วยังสบายใจ เดินผ่านไปไหนไม่ตะขิดตะขวงใจแล้วละก็ แสดงว่าเรายังไม่เป็น ผู้มีธรรมะ
ตราบใดที่ยังเดินผ่านไปมาแล้ว ขี้ดินยังติดหัวบันไดอยู่ ยังมีรอยตีนหมา ตีนแมว ตีนคน เกลื่อนเลอะเทอะไปหมด อย่าไปบอกใครว่าเรามีธรรมะ
มี นิทานโบราณเรื่องหนึ่ง เขาสอนเอาไว้ว่า เณรน้อยรูปหนึ่งอยากจะขึ้นไปเรียนกรรมฐานจากครูผู้วิเศษบนภูเขาใหญ่ ในขณะที่เดินผ่านขึ้นไปก่อนจะถึงกุฏิของครูผู้วิเศษ ได้เห็นราวตากผ้าของครู ถอดออกมาจากตูดรูปใดก็พาดบนราวรูปนั้น เณรสะบัดตูดพรึบลงจากเขาเลยทั้ง ๆ ที่ไต่ขึ้นเขาเป็นเวลาหลายวัน เพื่ออยากจะไปเรียนธรรมะกับครูแต่เห็นวิธีการตากผ้าของครู ถอดออกมาจากตูดรูปใดก็พาดบนราวรูปนั้น เณรสะบัดตูดพรึบลงจากเขา เลย ทั้งๆ ที่ไต่ขึ้นเขาเป็นเวลาหลายวัน เพื่ออยากจะไปเรียนธรรมะกับครูแต่เห็นวิธีการตากผ้าของครูแล้วเณรไม่ยอม เรียน
มีคนถามว่า "อ้าว! เณรเรียนสำเร็จแล้วหรือ? ขึ้นไปไม่นานลงมาแล้ว"
เณรตอบว่า..."ไม่ได้เรียน"
ถามว่าทำไม?
เณรตอบว่า..."ไม่มีครูที่ดี"
"อ้าว ก็ไปอยู่ข้างบนนั่นละใคร"
เณร ตอบว่า..."นั่นไม่ใช่ครู เพราะตัวของครูยังทำตัวเป็นรูอยู่เลย เรื่องของตัวเองแท้ๆ ยังไม่สามารถบริหารให้อยู่ในระเบียบ เรียบร้อยได้แล้วจะมีปัญญาไปบริหารคนอื่นให้ดีได้อย่างไร แค่ผ้าผ่อนสะบัดออกมาจากตูดยังพาดส่งเดชโดยไม่ยอม จะตาก จะพับ ทำให้มันดียังจัดระเบียบไม่ได้แล้วจะมีหน้าไปจัดระเบียบของใคร ให้เป็นระบบของใจต่อลูกศิษย์ได้"
เพราะฉะนั้นตัวธรรมะ นี้ มันเป็นของละเอียดอ่อน อยู่ใกล้ๆ ตัว เราอยู่ในวิญญาณอยู่ในสายเลือด อยู่ในชีวิตความรู้สึกนึกคิด ไม่ใช่มีธรรมะอยู่แค่ริมฝีปาก และการกระทำ การแสดงออก ถามว่าหลวงปู่จำเป็นต้องใช้ธรรมะไหม กับการสร้างที่นี่เพียงระยะเวลาไม่นานนัก ก็นี่แหละคือตัวการแสดงผลงานของตัวธรรมะ ถ้ามันไม่มีธรรมะนะ คงจะสร้างอะไรๆ อย่างนี้ ไม่ได้ โดยใช้เวลาไม่นานนัก และกำลังคนก็ไม่เยอะเท่าไหร่แต่เพราะตัวธรรมะ มันทำให้เรารู้จักอะไรควรไม่ควร รู้จักอะไรมาก่อนมาหลัง รู้จักกาลรู้จักสมัย รู้ จักคนรู้จักประมาณ รู้จักเวลาที่เหมาะ และไม่เหมาะ รู้ว่าอะไรควรกระทำ และไม่ควรกระทำ
ตราบใดที่เรายังเดินผ่านไป ก็ไปเตะกองขี้หมา ของที่ยังใช้ส่วนรวม และปล่อยให้เกะกะ อย่าไปบอกใครเขานะว่า เราเป็นผู้มีธรรมะ
มี นิทานโบราณเรื่องหนึ่ง เขาสอนเอาไว้ว่า เณรน้อยรูปหนึ่งอยากจะขึ้นไปเรียนกรรมฐานจากครูผู้วิเศษบนภูเขาใหญ่ ในขณะที่เดินผ่านขึ้นไปก่อนจะถึงกุฏิของครูผู้วิเศษ ได้เห็นราวตากผ้าของครู ถอดออกมาจากตูดรูปใดก็พาดบนราวรูปนั้น เณรสะบัดตูดผรึบลงจากเขาเลยทั้ง ๆ ที่ไต่ขึ้นเขาเป็นเวลาหลายวัน เพื่ออยากจะไปเรียนธรรมะกับครูแต่เห็นวิธีการตากผ้าของครูถอดออกมาจากตูดรูป ใดก็พาดบนราวรูปนั้น เณรสะบัดตูดพรึบลงจากเขาเลย ทั้ง ๆ ที่ไต่ขึ้นเขาเป็นเวลาหลายวัน เพื่ออยากจะไปเรียนธรรมะกับครูแต่เห็นวิธีการตากผ้าของครูแล้วเณรไม่ยอม เรียน
มีคนถามว่า "อ้าว! เณรเรียนสำเร็จแล้วหรือ ? ขึ้นไปไม่นานลงมาแล้ว"
เณรตอบว่า..."ไม่ได้เรียน"
ถามว่าทำไม ?
เณรตอบว่า..."ไม่มีครูที่ดี"
"อ้าว ก็ไปอยู่ข้างบนนั่นละใคร"
เณร ตอบว่า..."นั่นไม่ใช่ครู เพราะตัวของครูยังทำตัวเป็นรูอยู่เลย เรื่องของตัวเองแท้ ๆ ยังไม่สามารถบริหารให้อยู่ในระเบียบ เรียบร้อยได้แล้วจะมีปัญญาไปบริหารคนอื่นให้ดีได้อย่างไร แค่ผ้าผ่อนสะบัดออกมาจากตูดยังพาดส่งเดชโดยไม่ยอม จะตาก จะพับ ทำให้มันดียังจัดระเบียบไม่ได้แล้วจะมีหน้าไปจัดระเบียบของใคร ให้เป็นระบบของใจต่อลูกศิษย์ได้"
เพราะฉะนั้นตัวธรรมะ นี้ มันเป็นของละเอียดอ่อน อยู่ใกล้ ๆ ตัว เราอยู่ในวิญญาณอยู่ในสายเลือด อยู่ในชีวิตความรู้สึกนึกคิด ไม่ใช่มีธรรมะอยู่แค่ริมฝีปาก และการกระทำ การแสดงออก ถามว่าหลวงปู่จำเป็นต้องใช้ธรรมะไหม กับการสร้างที่นี่เพียงระยะเวลาไม่นานนัก ก็นี่แหละคือตัวการแสดงผลงานของตัวธรรมะ ถ้ามันไม่มีธรรมะนะ คงจะสร้างอะไร ๆ อย่างนี้ไม่ได้ โดยใช้เวลาไม่นานนัก และกำลังคนก็ไม่เยอะเท่าไหร่แต่เพราะตัวธรรมะ มันทำให้เรารู้จักอะไรควรไม่ควร รู้จักอะไรมาก่อนมาหลัง รู้จักกาลรู้จักสมัย รู้จักคนรู้จักประมาณ รู้จักเวลาที่เหมาะ และไม่เหมาะ รู้ว่าอะไรควรกระทำ และไม่ควรกระทำ
ตราบใดที่เรายังเดินผ่านไป ก็ไปเตะกองขี้หมา ของที่ยังใช้ส่วนรวม และปล่อยให้เกะกะ อย่าไปบอกใครเขานะว่า เราเป็นผู้มีธรรมะ
ครั้ง หนึ่งหลวงปู่เคยก้มกราบตีนเณร คือเห็นกองขี้หมามันเรี่ยราดอยู่หน้าโบสถ์ สมภารเดินผ่านก็มองข้ามกองขี้หมา รองสมภารเดินผ่านก็ข้ามกองขี้หมา พระผู้เฒ่า เด็กเล็กพระใหม่ พระเก่า ก็ข้ามเดินผ่านกองขี้หมา แต่มีเณรองค์หนึ่งเดินผ่านมาไม่ข้าม รีบไปหากระดาษหนังสือพิมพ์มาเช็ด หลวงปู่ขอบใจลงมือคุกเข่านั่งกราบเขาเลย แหม! ธรรมะผู้วิเศษของท่าน ช่างยิ่งใหญ่อะไรอย่างนี้ คนมีธรรมะอยู่ในหัวใจนั้นมันทำได้ทุกอย่างที่ผ่านพบ
ถ้า ตราบใดที่เราเห็นกองขี้หมาเกลื่อนกลาดแล้วยังสบายใจ ยิ้มร่าหัวเราะได้ อย่าไปบอกใครว่าเรามีธรรมะ แล้วธรรมะตัวที่เช็ดกองขี้หมามันคืออะไร ถ้าจะแปลเอาไว้ให้ฟังไว้ได้ก็ ต้องบอกว่า นั่นแหละคือตัวการที่ยิ่งใหญ่ที่ทำลายอัตตา ความถือตัวถือตน มานะทิฐิ ทรนง จองหอง โดนทำลายไปกับการหยิบกระดาษไปเช็ดกองขี้หมาด้วยมือตนและก็ความเสียสละเอื้อ อาทรต่อส่วนรวม หวังประโยชน์สุขส่วนรวมเป็นใหญ่โดยสร้างสรรค์ เสริมให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาด้วยการเอามือไปเช็ดกองขี้หมาเราจะเห็นว่ามันเป็น คุณธรรม เป็นธรรมะที่เรียนจากตำราไม่ได้จากครูจากปากของคนใดก็ไม่ได้ แต่มันได้มาจากการที่เราลงมือทำมัน
เพราะฉะนั้นผู้ที่มี ธรรมะนี้ไม่จำเป็นต้องมานั่งสวดมนต์อ้อนวอน ขอพรพระเจ้า หรือไม่จำเป็นต้องมานั่งหลับหู หลับตา แสดงท่าเป็นผู้วิเศษ ผู้ที่มีธรรมะนั้น ก็คือกิริยาอาการใด ๆ ก็แล้วแต่ ที่ยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านเอื้ออำนวยสรรพสัตว์ ให้เกิดสรรพสุข พ้นจากสรรพทุกข์ทั้งปวงได้ นั่นถือว่ากิริยาอาการเช่นนั้นเป็นคนมีธรรมะ เดินไปกลางถนนเก็บขยะ ขี้ มูลฝอย ที่รกอยู่กลางทาง ก็ถือว่าคน ๆ นั้นมีธรรมะแล้ว มีธรรมะดีกว่าพวกที่นั่งหลับตาอยู่ในโบสถ์ ในวิหารศาลาการเปรียญเสียอีก
หลวง ปู่จึงบอกว่า ลูกรัก ต่อให้เจ้าไปเรียนธรรมะในโรงเรียนวันละ 100 ชม. สำหรับพ่อแล้ว สู้เดินไปข้างหน้า เห็นหญ้า 1 ต้น มันขึ้นรกรุงรังเอื้อมมือไปเด็ดหญ้าด้วยความเอื้ออาทรว่า คนมาข้างหลังจะไปเหยียบหญ้าสะดุดล้ม สำหรับพ่อแล้วกิริยาอาการ และอิริยาบถที่เอื้อมมือไปเด็ดหญ้านั้น มีค่า ยิ่งกว่าเรียนในโรงเรียน 100 ชม. ในเรื่องธรรมะอีกและคนที่เรียนในโรงเรียน 100 ชม. ในข้อว่าธรรมนั้นละ มันยังให้ประโยชน์ต่อโลก และสังคมไม่ได้เลย เพียงแค่อยู่กระดกปลายริมฝีปาก และปลายลิ้นเท่านั้นเอง
ธรรมะอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็น ธรรมะ มันเป็นธรรมเมา มันยังเมาอยู่ ถ้าตราบใดที่ยังเอื้ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่โลกและสังคมรวมทั้งตนเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นลูกหลานทั้งหลาย ที่นั่งอยู่ที่นี่ ก็ให้เข้าใจว่า พวกเรายังไม่ได้มีธรรมะอะไร กับใครเขาสักเท่าไร ถ้าตราบใดที่เดินขึ้นมาบนที่นอน ขึ้นไปบนโรงนอน ผ่านไปพบเห็นของที่ควรจะเก็บไม่เก็บ ควรจะหยิบไม่หยิบ ควรจะล้างไม่ล้าง ควรจะเช็ดไม่เช็ด ควรจะกวาดไม่กวาด ควรจะถูไม่ถู ปล่อยเปรอะเลอะเทอะแสดงว่าธรรมะไม่มี
หลวงปู่นี่พวก อรหันต์ทั้งหลายเขาเคยมาลองของเยอะแยะ และก็เคยไปดูที่อยู่ของพวกอรหันต์ทั้งหลาย บอกว่าพวกนี้มันไม่ได้หันหลอก ๆ ไม่ใช่อรหันต์ มันเป็นหมูหัน! เพราะว่าตั้งแต่หัวนอนจรดปลายตีน มันก็ยังมีขยะหยากเยื่อหยากไย่ เลอะเทอะ และรอบ ๆ ที่อยู่อาศัยมันก็ยังสกปรก รกรุงรัง กิริยาอาการถึงแม้ว่าจะแสดงออก ซึ่งความละเอียดอ่อน การแสดงธรรมที่ดีเยี่ยม การพูดที่เก่งกาจ ถ้าตราบใดที่ยังไม่สามารถจัดระเบียบกาย ของตนให้ดีขึ้นมาได้ ใจมันจะมีระบบที่ดีก็ไม่ได้ มันยาก ไม่งั้นโบราณเขาคงไม่มีคำสอนหรอกว่า "สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล การกระทำส่อความไพร่สกุล" หรือไม่ก็ไม่มีคำสอนที่เป็นของปราชญ์ราชบัณฑิต เขาสอนกันเอาไว้หรอกว่า "การกระทำทั้งหลายมีใจเป็นนายใหญ่มีใจเป็นหัวหน้า"
เรา ลองมานึกดูซิว่า ถ้าธรรมะมันเกิดขึ้นอยู่ในใจใครแล้ว มีหรือการกระทำมันจะขัดกันกัดกัน ตีกัน เตะกัน มีเรื่องมีราวต้องทะเลาะวิวาทบาทหมาง และก็มีหรือว่าคนที่มีใจที่เป็นธรรมะ จะเดินผ่านไปพบกับของกองขยะจะไม่เก็บ เป็นไปไม่ได้คนที่เขามีธรรมะ เขารู้จักกิริยาอาการ รู้จักสิ่งที่ควรไม่ควร รู้จักความถูกความผิด รู้จักความเหมาะสม และไม่เหมาะสม นั่นถือว่าคน ๆ นั้นมีธรรมะ เป็นคนที่ละเมียดละไม ละเอียดอ่อน
เพราะฉะนั้นคำจำกัด ความสำหรับธรรมก็คือ ธรรมะในวินัยนี้มิใช่ยังให้เกิดความล่าช้า แต่มันยังให้เกิดความรวดเร็ว เร่งรีบให้ทันการณ์ทันสมัยรวบรัด และก็เรียบร้อย ถือว่านี่คือประโยชน์แห่งธรรมะวินัยนี้ ธรรมะวินัยนี้มิใช้ยังให้เกิดความเกียจคร้าน ธรรมะวินัยนี้ยังให้เราหรือ ผู้มีธรรมะ หรือผู้เรียนรู้ธรรมะวินัยนี้ ให้เกิดความมานะบากบั่น อดทนอดกลั้น ขยัน หมั่นเพียร และปฏิบัติพากเพียร เล่าเรียนท่องบนท่องจำ และกระทำให้ได้ประโยชน์ให้ ทำลายโทษและเกิดประโยชน์ คนอื่นและส่วนรวมได้ด้วย
นี่คือผลประโยชน์ของการเคารพ ยอมรับปฏิบัติตามธรรมะวินัยนี้ และถ้าตราบใดที่เรายังล่าช้า ยังซื่อบื้อ เกียจคร้าน อดทนอดกลั้นไม่ได้ กลายเป็นคนพาล จิตใจหยาบมีสันดานชั่วถือว่าเราไม่ได้เป็นผู้เข้าใกล้ธรรมะวินัยนี้ ไม่รู้จักธรรมะวินัยนี้ และถ้าลูกหลานทั้งหลายคิดว่าตัวเองเป็นผู้รู้ธรรมะก็ต้องเอามาเปรียบกับตัว เองว่า เวลานี้เราเป็นคนอดทนอดกลั้น ต่ออะไรได้บ้างหรือไม่ ดีขึ้นมาบ้างหรือเปล่า เวลานี้เราเป็นคนหลังยาวเกียจคร้านไหม เวลานี้เรามีจิตใจเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละให้กับใครเขาบ้างหรือเปล่า เวลานี้เราเป็นคนที่มีจิตใจที่จริงจังและก็มีความจริงใจต่อคนอื่นเขาบ้าง หรือเปล่า เวลานี้จิตใจของเรากว้างขวาง ยอมรับเหตุ และผลของคนอื่นเขา ด้วยหรือเปล่า เวลานี้ตัวของเราเองนั้น ทำตนเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น และตนเองได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าวิเคราะห์ได้อย่างนี้ว่า ตัวเองดีตลอด หรือ สมบูรณ์ทุกเรื่อง ก็ถือว่าเราเป็นผู้เจริญในธรรม มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ มีธรรมะเป็นเครื่องอาศัย มีธรรมะเป็นเครื่องไป และก็มาด้วยพระธรรม เพราะฉะนั้นคำจำกัดความสำหรับธรรมก็คือ ธรรมะในวินัยนี้มิใช่ยังให้เกิดความล่าช้า แต่มันยังให้เกิดความรวด เร็ว เร่งรีบให้ทันการณ์ทันสมัยรวบรัด และก็เรียบร้อย ถือว่านี่คือประโยชน์แห่งธรรมะวินัยนี้ ธรรมะวินัยนี้มิใช้ยังให้ เกิดความเกียจคร้าน ธรรมะวินัยนี้ยังให้เราหรือ ผู้มีธรรมะ หรือผู้เรียนรู้ธรรมะวินัยนี้ ให้เกิดความมานะบากบั่น อดทนอดกลั้น ขยัน หมั่นเพียร และปฏิบัติพากเพียร เล่าเรียนท่องบน ท่องจำ และกระทำให้ได้ประโยชน์ให้ทำลายโทษ และเกิดประโยชน์ คนอื่นและส่วนรวมได้ด้วย
นี่คือผลประโยชน์ของการเคารพ ยอมรับปฏิบัติตามธรรมะวินัยนี้ และถ้าตราบใดที่เรายังล่าช้า ยังซื่อบื้อ เกียจคร้าน อดทนอดกลั้นไม่ ได้ กลายเป็นคนพาล จิตใจหยาบมีสันดานชั่วถือว่าเราไม่ได้เป็นผู้เข้าใกล้ธรรมะวินัยนี้ ไม่รู้จักธรรมะวินัยนี้ และถ้าลูกหลานทั้งหลาย คิดว่าตัวเองเป็นผู้รู้ธรรมะ ก็ต้องเอามาเปรียบกับตัวเองว่า เวลานี้เราเป็นคนอดทนอดกลั้น ต่ออะไรได้บ้างหรือไม่ ดีขึ้นมาบ้างหรือเปล่า เวลานี้เราเป็นคนหลังยาวเกียจคร้านไหมเวลานี้เรามีจิตใจเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละให้กับใครเขาบ้างหรือเปล่า เวลานี้เราเป็นคน ที่มีจิตใจที่จริงจังและก็มีความจริงใจต่อคนอื่นเขาบ้างหรือเปล่า เวลา นี้จิตใจของเรากว้างขวาง ยอมรับเหตุและผลของคนอื่นเขาด้วย หรือ เปล่า เวลานี้ตัวของเราเองนั้น ทำตนเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นและตน เองได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าวิเคราะห์ได้อย่างนี้ว่า ตัวเองดีตลอด หรือ สมบูรณ์ทุกเรื่อง ก็ถือว่าเราเป็นผู้เจริญในธรรม มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ มีธรรมะเป็นเครื่องอาศัย มีธรรมะเป็นเครื่องไป และก็มาด้วยพระธรรม
แต่ ถ้าตราบใดที่สิ่งทั้งหลายที่พูดออกไปเมื่อครู่นี้มันยังไม่ได้ปรากฏต่อตัว เรา ยังเป็นคนที่จิตใจคับแคบ ยังไม่เอื้ออาทรไม่มีความ เสียสละ ไม่เคยให้ความจริงใจต่อใคร เป็นคนเกียจคร้าน สันดานหยาบ กิริยาอาการก็กระด้าง มีมานะ ทิฐิ จองหอง อวดดี หยิ่งยโส โอหัง ไม่รู้จักสิ่งที่ควรและไม่ควรยังมีกิริยาอาการที่ทำประโยชน์ไม่ได้ มีแต่โทษและก็มีความละโมบโลภมากสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมะ ก็จงรู้เถิดว่าเรายยังไม่ใช่เป็นผู้เข้าใกล้ธรรมะ ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ ไม่ได้อยู่ด้วยธรรมะ ไม่รู้จักธรรมะ และก็ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องอาศัย ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องไป แถมไม่ได้มาด้วยตัวธรรมะ แต่มันมาด้วยอำนาจของกรรม กรรมที่เกิดจากดีและชั่ว รวมทั้งการกระทำ
เพราะฉะนั้นลูกหลานทั้งหลายต้องทำความ เข้าใจว่า สำหรับหลวงปู่แล้ว ถ้าจะดูว่าคนมีธรรมะนั้น ไม่ใช่ดูที่หลับตาเก่ง คุยเก่ง แสดงเก่ง อวดเก่งหรือว่าพูดเก่ง ทำเก่ง แต่มันดูที่กิริยาที่กำจัดความ ระยำของตนลงไปมากน้อยแค่ไหน หลวงปู่ดูง่ายนิดเดียว แค่เดินให้เห็นก็รู้ว่า คนไทยมีธรรมะ ไม่มีธรรมะคนที่เดินอย่างคนมีธรรมะ กับคนที่เดินอย่างขาดธรรมะ เดินต่างกันราวฟ้ากับดินเลยทีเดียว เดินต่างกันหน้ามือเป็นหลังตีนเลย คนที่มีธรรมะเวลาพูด เวลานอน เวลาคุย เวลากิน เวลาชี้ เวลาเยี่ยว เวลาเข้าส้วม มันต่างกับคนไม่มีธรรมะราวฟ้ากับดินเลยทีเดียวแล้วเราก็ค่อย ๆ สังเกตดูว่ามันต่างกันอย่างไรข้อกำจัดความสำหรับคนที่มีธรรมหรือคนที่เรียน รู้ธรรมะอยากจะให้มีธรรมะอยู่ในหัวใจ ไม่จำเป็นต้องไปเรียนรู้อะไร เท่ากับว่า เมื่อใดที่เราเดินไปเจอเศษกระดาษ แล้วยังหน้าด้านเดินข้ามผ่านไปได้แล้วละก็นั่นสอบตก
เข้า ส้วมแล้วปล่อยให้น้ำมันไหลโจ๊ก ๆ ไฟมันยังเปิดสว่างโล่อยู่ หรือว่ายังมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจอยู่ในส้วม แล้วยังเดินสะบัดตูดออก มาจากส้วมได้อย่างสบายใจละก็ นั่นสอบตก
ยังไม่ตะขิดตะขวงใจยังไม่ได้ทำอะไรให้มันดีขึ้น นั่นสอบตกถ้าตราบใดที่เรายังเดิน ผ่านเพื่อน ผ่านผู้หลักผู้ใหญ่ ผ่านผู้ควรต่อการ
เคารพ ก้มไม่พินอบพิเทา ไม่ก้มหลัง กราบไหว้ไม่ให้เกียรติ ไม่ให้การยอมรับ นั่นสอบตกถ้าตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าอันไหนเป็นของครูบาอาจารย์ อันไหนไม่ใช่ของครูบาจารย์ อันไหนเป็นสิ่งที่ควรจะเคารพ อันไหนเป็นสิ่งที่ควรจะเหยียบย่ำ นั่นสอบตก
เหมือนอย่าง เมื่อเช้านี้ เสื่อที่หลวงปู่ใช้นอนเอง ลูกศิษย์มันยังไปลากลงมานั่งกลางดินถือว่ามันไม่มีธรรมะอะไร ขนาดของครูบาอาจารย์สำหรับใช้นอนมันยังเอามานั่ง


ถ้าอยากจะเคารพหลวงปู่ ครูบาอาจารย์ละก็ เอาสิ่งที่หลวงปู่และครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอนกลับไปประพฤติปฏิบัติ และกระทำเหยียบย่ำเดินไปทุกหนแห่งตำบลใด ทิศใด ชาวบ้านเขาจะมาสะกิดสีข้างถามเองว่า ท่านเป็นลูกศิษย์ของใคร การกระทำของท่านทำไมช่างละเอียดละไมดีพร้อมอย่างนี้ นั่นแหละถือว่าเป็นการเคารพครูบาอาจารย์แล้ว ชื่อของครูบาอาจารย์ ก็จะจุงกระจาย กระฉ่อน เลื่องลือไปไกลในทางที่ดีที่ถูกต้อง
แต่ถ้า ตราบใดมันเอาแต่มานั่งกราบนั่งไหว้ แล้วกิริยาอาการใน หัวใจยังระยำอัปรีย์ ทำสิ่งกาลีติดตัวอยู่เป็นประจำ ไปไหนใครก็เห็น มีแต่ความระยำตลอด เขาก็จะมาสะกิดสีข้างถามเหมือนกันว่า โคตร พ่อโคตรแม่ชื่ออะไร ครูอยู่ที่ไหน ทำไมสอนระยำอย่างนี้ การที่มานั่งกราบอย่างนั้นก็ไม่ได้เรื่องอีกนั่นแหละ มันเท่ากับว่า ทำให้ตัวเอง ต้องตายหรือฉิบหายลงไป ครูบาอาจารย์ใครเป็นพ่อเป็นแม่ก็พลอย ซวยไปด้วยอีก
เพราะฉะนั้น หลวงปู่จึงบอกว่า ไม่ชอบกับการที่จะมายก มากราบ มายอมรับ แต่ที่ต้องสอนให้ยอมรับ ยอมรู้ ยอมดู ยอมเห็น ยอม กระทำจะได้เป็น จะได้ไม่ทำเป็นพวกตูดรั่ว หัวรั่ว คือไม่รู้จักอะไรควรอะไรไม่ควร รู้จักสิ่งเหมาะสิ่งควร คนที่เขามีธรรมะ เขารู้จักใช้สมมุติได้อย่างสมบูรณ์ ให้ความเคารพในสมมุติ ยอมรับสมมุติ ให้เกียรติสมมุติ เขาสมมุติว่านี่คือครู นี่คือ พ่อ นี่คือแม่ นี่คือลูก นี่คือผัว นี่คือศิษย์ นี่คือเพื่อน นี่คือผู้อาวุโส นี่คือผู้อยู่ใกล้ เมื่อเขาสมมุติ กันมาอย่างนี้ เขาก็มีกฎเกณฑ์ของความเป็นสมมุติว่า อยู่กับครูต้องทำกิริยาอย่างไร อยู่กับพ่อแม่ทำกิริยาอย่างไร อยู่กับพระธรรมต้อง ทำกิริยาอย่างไร อยู่กับพระสงฆ์ต้องทำกิริยาอย่างไร อยู่ในสถานที่เช่น นี้ต้องทำกิริยาอย่างไร และถ้าเรายอมรับกับกิริยานั้น ๆ แล้วกระทำปฏิบัติตาม ถือว่าคน ๆ นั้นเป็นคนมีธรรมะ เพราะธรรมะตัวนี้มันเป็นตัวขัดเกลาทำให้เราอ่อนโยนยอมรับเหตุปัจจัย และผลของคนทั้งหลาย
แต่คนที่มีธรรมะเมามันจะทำให้ตัวเองแข็งกระด้าง ไม่ค่อยยอม รับอะไรเดินชูงวง ทำเป็นปูชูก้าม ช้างชูงวง กิ้งก่าชูคอ อะไรประเภทนั้น ถือว่าไม่มีธรรมะ ไม่ยอมรับอะไร และคนเหล่านี้จะอยู่ที่ไหนก็มีแต่ตายกับตาย มีแต่ความเสื่อมทรามและฉิบหาย ทำลายตัวเองลงไป เพราะเมื่ออยู่กับใครเขาไม่ได้ มันจะอยู่ได้อย่างไร ไม่ยอมรับอะไร ๆ กับใครเขาเลย กฎเกณฑ์ กติกาของสังคม ก็ไม่เรียนรู้ไม่ยอมรับ ทำหน้าที่พ่อไม่เป็น ทำหน้าที่เมียไม่เป็น ทำหน้าที่ผัวไม่เป็น ทำหน้าที่ไม่เป็น และมันจะอยู่กับใครเขาได้ ก็ทำลายตัวเองตายกับตายอย่างที่ว่า คนที่เขามีธรรมะเขาละเอียดอ่อน อ่อนช้อย รู้จักควรไม่ควรมีกิริยาอาการที่ละเมียดละไม
เพราะฉะนั้นคนที่มี ธรรมะ เขาไม่ได้ดูกันว่า ปริญญาพ่วงท้าย หรือว่าสำเร็จเป็นมหาได้เปรียญ 3 ประโยค 9 ประโยค อะไรนั้นเขาดูกันว่ามันมีหน้าที่อย่างไร และทำหน้าที่อย่างนั้นสมบูรณ์ มากน้อยแค่ไหน นั้นถือว่าคนๆ นั้นมีธรรมะ
เพราะ ฉะนั้นชั่วชีวิตของหลวงปู่เนี่ยะ ไม่ชอบให้ใครมายก แต่ก็ไม่อยากให้ใครเขามา เหยียบคนที่เป็นลูกศิษย์ของตน เหตุผลก็เพราะว่าคำว่ายกตัวนี้มันหมายถึง ยกด้วยกิริยา อาการแห่งความ ต้องพินอบพิเทาเคารพยกย่องไม่อยากจะให้เป็น ไม่อยากจะให้ใครมา โกหก ตอแหลตัวเองอย่างนั้น ถึงว่าเราจะมากราบเช้า กราบกลางวัน กราบเย็น กราบกลางคืน แต่หัวใจอัปรีย์ระยำ ละก็ ไม่อยากให้กราบเลยให้ตายเหอะเหมือนกับคนขี้มาทาใส่ทอง เอาทองมาปิดไว้กองขี้ใคร เขาชอบกันบ้างละหลวงปู่ไม่ชอบเลย แต่ที่ต้องสอนว่านี่ ที่นั่งของพระ นี่ที่นั่งของครู นี่ที่นั่งของอาจารย์ นี่ที่นั่งของหลวงปู่ ก็ต้องจะบรรเทาและทำลายหัวใจอัปรีย์กาลีระยำ ที่อยู่ภายในใจของศิษย์ ให้มันลดน้อย ถอยลงไป การรู้จักกาลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักเวลา รู้จักสมัย รู้จักเหตุ รู้จักปัจจัย รู้จักสิ่งแวดล้อม รู้จักสมมุติ นั่นแหละคือตัวธรรมะ และถ้าหากมันไม่รู้จักมันไม่เข้าใจ ก็ต้องเพียรพยายาม จะทำให้รู้จักให้เข้าใจ จะได้มีธรรมะเกิดขึ้นได้
นี่คือหน้าที่ของครู ผู้ใจอารีต้องพยายามชี้ไปตรงจุด และก็กระแทกกระทั้นขยำขยี้ เพื่อให้ศิษย์จะได้ดีขึ้นมา ผู้หวังดีจะได้ดีขึ้นมา ผู้อยากดีและพบดีก็ต้องเจอดีจนได้ แต่ถ้าหากว่าศิษย์คนใด ไม่ยอมรับการขยำขยี้กระแทกกระทั้นจ้ำจี้จ้ำไช นั่นก็ถือว่าไม่ดีไม่อยากดี ไม่ต้องการดี และไม่มีดี ไม่ควรจะอยู่ดี และตายไปคงไม่ดีเป็นแน่
เพราะ ฉะนั้นอย่าไปคิดว่า การที่หลวงปู่ต้องไปนั่งบ่นค่อยจ้ำจี้จ้ำไช นั่งด่าว่ากล่าวตักเตือน ไม่ใช่เพียงเพื่อจะให้ตัวเองสูงส่ง ดีเลิศประเสริฐ ศรีในปฐพีหรอก หลวงปู่ไม่ชอบอยู่แล้ว แต่อยากจะให้พวกเราทั้งหลาย ได้รู้จักว่าธรรมะมันคืออะไร ธรรมะก็คือ การทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ บริสุทธิ์ถูกต้อง ตรงแนว และยุติธรรม ตามครรลองและทำนองคลองธรรม ของกฎเกณฑ์แห่งสังคม และความเป็นสมมุติ ในโลกและในที่สุด ธรรมะมันก็เป็นตัวการทำให้เราพ้น จากอำนาจความเป็นสมมุติได้ด้วย เมื่อเราสามารถปฏิบัติ และยอมกระทำตามสมมุตินั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เราก็จะรู้มันขึ้นมาเองว่า มันเกิดขึ้น โดยอัตโนมัติว่าอ้อ! สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงแค่ กลกามของโลกที่เป็นสมมุติเท่านั้น เราทำมันสมบูรณ์แล้วครบถ้วนกระบวนความแล้วและก็วางมันได้อย่างสบายใจอย่าง ไม่ตะขิดตะขวงใจ ใครเขาจะมาอาจ คัดค้านเราไม่ได้ ใครจะมาว่ากล่าวเราทีหลังก็ไม่ได้ เพราะเราได้ทำมัน มาสมบูรณ์แล้ว เรียนรู้มันมาสมบูรณ์แล้ว ปฏิบัติมันมาสมบูรณ์แล้ว ยอมรับมันมาสมบูรณ์แล้ว สมบูรณ์ที่สุดแล้วตามหน้าที่ของความเป็น คน หน้าที่ของความเรียนรู้หน้าที่ของการยอมรับ เมื่อทำถึงขั้นนี้เราก็จะรู้เองว่า เราควรจะวางอย่างไร
แต่ถ้าตราบใด ยังเดินผ่านไปเห็นขยะยังไม่หยิบ เห็นความสกปรก ยังไม่ล้าง เห็นพื้นไม่สะอาดยังไม่เช็ด เห็นห้องน้ำไฟไม่ปิดยังไม่ไปปิดเห็นกิริยาอาการแห่งความโสโครก ในตัวตน ยังมีอยู่ละก็ อย่าไปบอกใครนะว่า เราเป็นคนมีธรรมะ ไม่เชื่อร้อยไม่เชื่อ พันไม่เชื่อ หมื่น ไม่เชื่อแสนไม่เชื่อ ไม่เชื่อหรอก หลวงปู่ไม่เชื่อ เพราะธรรมะของพระ พุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปทำอะไรทีมันเป็นเรื่องเป็นราวนอกเหนือจากความเป็นคน และพุทธะเลย อย่าลืมว่า พระพุทธเจ้าแสดงธรรมะ ไม่ได้สอนสัตว์เดรัจฉานพรม เทวดา แต่พระองค์แสดงธรรมะ เพื่อจะสอนคนให้เป็นมนุษย์นะ "มนุษย์" ตัวนี้มันแปลว่า ใจสูง มันยกระดับจากความเป็นคนขึ้นมา สูงจากฝุ่นละออและผงธุลี ที่จะแปะเปื้อนเรือนเลอะเทอะกับตัวมนุษย์เอง และพระองค์ก็ทรงสอน ไม่ได้สอนใคผู้วิเศษที่ไหน และสอนคนให้มีชีวิตอย่างไร สอนมีชีวิตอย่างที่หลวงปู่พูดมาเมื่อครู่นี้
เมื่อเราทำได้อย่างนี้ก็ ถือว่า "เราพ้นจากความเป็นคนขึ้นมาสู่ความเป็นมนุษย์" และพระองค์ก็มีข้อวัตรปฏิบัติจากมนุษย์ ให้ขึ้นมาสู่ความเป็นนักบวช และพระต่อไป
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่า พระองค์ไม่ได้สอนอะไรไปมาก กว่าการทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ ตามกาลควรเป็น ตามเหตุ ตามปัจจัยที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อมนั้นๆ นั่นแหละคือลักษณะตัวธรรมะมันไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่านี้ ถ้าดูให้มันดีๆ แล้ว ก็คือตัวเราเอง ตัวเราเองที่ต้องจำกัดทำลายล้าง ซักฟอก ขัดสีแคะแกะ เกา ให้มันออกไปบ้าง ให้เหลือไว้แต่ส่วนดีๆ นั่นแหละคือตัวการขบวนการกำจัด และทำลายของธรรมะ และถ้าตัวเองยังมีขยะกองโตอยู่ใครเขาจะเชื่อ ถ้าตัวเองยังใส่ผ้าสกปรก มีคราบเหงื่อคราบไคล คราบขี้ดินติดเต็มไปหมด และก็บอกว่า ฉันเป็นเจ้าของโรงทำแฟ้บ โรงทำผงซักฟอก ที่บ้านฉันมีเครื่องซักผ้า มียี่ห้ออย่างดี ใครเขาจะเชื่อ ไม่มีใครเชื่อหรอก จะไปคุยกับใครเขาว่า เราเป็นคนสะอาด รักระเบียบเรียบร้อย รักสวยรักงาม และถ้าตัวเองผมยังไม่หวี ฟันยังไม่แปรง ขี้ตายัง เต็มเบ้ากิริยาอาการยังสกปรก การแสดงวาจา ยืนเดิน นั่ง นอน พูด ทำ คิดยังไม่มีระเบียบ ยังไม่เป็นระบบของจิต ไปบอกกับใครเขาฟังว่า เราเป็นคนรักระเบียบเรียบร้อย ใครเชื่อ ไม่มีใครเชื่อหรอก
ฉันใดก็ฉัน นั้น ตราบใดที่กิริยาอาการของเรายังไม่สามารถชำระล้างความสกปรกโสโครกออกไปจากตัว เราได้ ยังเป็นคนเกียจคร้านหยาบกระด้าง โลภโมโหโทสัน หยิ่งผยองทระนงอวดดี ยโสโอหัง จิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัวแล้วละก็ อย่าไปบอกกับใครเขาว่าเรามีธรรมะไม่มีใครเชื่อหรอก เพราะว่าธรรมะมันก็คือ ปฏิกิริยาแห่งการกำจัดคราบ สี เสียง และกลิ่น แห่งความสกปรก ให้มัน ลดน้อยลงไป หากสิ่งเหล่านี้ที่เป็นคราบ สี เสียง แสง กลิ่น แห่งความสกปรก ยังคงที่อยู่ละก็ อย่าไปบอกใครว่าเราเป็นคนมีธรรมะไม่มีใครเชื่อเด็ดขาด
เพราะ ฉะนั้น จึงอยากจะบอกลูกหลานเอาไว้ว่า เตือนกันในฐานะญาติสนิท ที่คิดว่าไม่ใช่คนอื่นคนไกลว่า พวกเราทั้งหลายอย่าคิดว่าเราเป็นคนมีธรรมะ เราไม่สังเกตหรือว่า หลวงปู่เดินขึ้นไปบนศาลาและไปยืนมองผ่านอ่างบัว เดินไปรอบๆ และก็ยืนนิ่งๆ แล้ว ก็พูดอยู่ทุกวันว่า ไม่เห็นพวกเราทำอะไรกัน ไม่มีธรรมะ ไม่เห็นมีธรรมะอะไรเลย รู้แล้วก็ไม่เห็นทำอะไร เพื่อจะเตือนให้เราได้รู้ว่า ธรรมะมันไม่ได้มีเอาไว้สำหรับนั่งหลับตา ไม่มีไว้คุยจ้ออวดกัน ไม่ได้มีไว้เพื่อจดบันทึกไว้ในหนังสือ ไม่ได้มีเอาไว้จำ ไม่ได้มีเอาไว้สอน แต่มีเอาไว้กระทำ กำจัดความระยำที่มันหมักหมม หมักดอง อยู่ในหัวใจ ให้มันลดน้อยลงไป นั่นถือว่าคนมีธรรมะ
เหมือนอย่างหลวงปู่กล้าที่จะก้มกราบตีนเณร ที่เขาสามารถเก็บขี้หมา ที่กองอยู่หน้าโบสถ์ได้ ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็เดินข้ามไปข้ามมา ทั้งๆ ที่เณรองค์อื่นเขาก็มี และมีเณรองค์นั้นองค์เดียวที่กล้าทำ ซึ่งเขาก็ไม่ได้ทำต่อหน้า แต่ทำลับหลัง ไม่ได้ทำแบบอวดๆ ด้วย หลวงปู่แอบดูก็เลยไปกราบตีน เคารพในพระธรรมของเขา เพราะเขามีธรรมะ ธรรมะชั้นสูงเสียด้วย ไม่ใช่ธรรมะชั้นต่ำ
เพราะ ฉะนั้นคนมีธรรมะนั้น มันไม่ใช่คนนั่งชูคอบนยอดปราสาท อยู่ในวัดหรืออยู่บนอาสนะสูงๆ แต่งตัวสวยๆ หรือว่า แต่งตัวดีๆ ตาสี ตาสา ยายมายายมี แต่งตัวอัปรีย์อาจจะเป็น คนมีธรรมะชั้นดีก็ได้ คนแก่หูตา มองไม่เห็น ก็อาจจะเป็นคนมีธรรมะชั้นดีก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันคนที่ใกล้ตายก็อาจจะเป็นคนมีธรรมะเมาก็ได้ เกิดมาร้องอุแว้แอะเดียวก็อาจจะมีธรรมะชั้นเลิศก็ได้ เกิดมาร้อยปี ทำดีไม่ได้ก็อาจจะมีธรรมะเมาชั้นแย่ก็ได้
จึงอยากจะฝากบอกเอาไว้ว่า ศาสนานี้เขาไม่ได้ยกย่องคนดี คนแก่ ด้วยการอยู่ นานอยู่นานแต่ทำเป็นอันธพาลตลอดชาติ มีความระยำตลอดชาติ อยู่นานก็เปลืองประโยชน์ เขายกย่องคนแก่ คนดีตรงที่ทำอะไร เกิดวันเดียวก็มีสิทธิ์จะเป็น คนแก่ได้ ชาวโลกชาวบ้านเขาเรียกหลวงปู่ว่า เป็นหลวงปู่ก็ไม่ใช่เพราะว่าหลวงปู่อยู่นาน แต่เพราะหลวงปู่ทำอะไร เพราะ เราทำอะไรนี่แหละ จึงทำให้คนทั้งหลายเรียกว่า เป็นคนแก่ เป็นผู้เฒ่า แล้วพวกเราละ พวกเราทำอะไรกัน เพราะฉะนั้นถ้าคิดมุ่งหวังอยากเป็นผู้รู้ธรรมะ เข้าใจธรรมะ เรียนรู้ธรรมะ มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ อยู่ด้วยธรรมะ อาศัยธรรมะและก็มีธรรมะเป็นเครื่องไป มาด้วยธรรมะแล้วละก็ ถามกันไว้แค่นี้ว่า พวกเราทำอะไร และกำลังจะทำอะไร อยากจะฝากบอก เอาไว้ ก็เห็นเข้ามาใช้สถานที่ตรงนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม มันจะพร่ำเพรื่อปฏิบัติธรรมะแบบพร่ำเพรื่อ เปรอะเลอะเทอะธรรมะ มันเลอะไปหมด เต็มไปหมด ฝุ่นละอองแห่งธรรมะ มันกระจุย กระจาย จนกระทั่งเต็มไปในหัวใจของผู้ปฏิบัติ เต็มมาจนถึง โต๊ะหมู่บูชา เต็มมาถึงที่นั่งของหลวงปู่ เต็มไปถึงสถานที่ใกล้ๆ และไกลๆ รอบๆ บริเวณเต็มส้วมไปด้วยคราบ ด้วยกลิ่น ด้วยสี จะเป็นการแสดงออกของธรรมะชั้นไหน ต้องถามไว้ในหัวใจเอาไว้สักนิด มันต้องรวมไปถึงทั้งพระ ทั้งเณรเถรชีทั้งหลายด้วยว่า มันเป็นธรรมะชั้นใด
สำหรับ หลวงปู่แล้วไม่ถือว่า จำเป็นเฉพาะต้องทำที่นี่ ที่ ไหนที่เราเหยียบย่างเข้าไป ก็ต้องมีธรรมะอยู่ในหัวใจ หลวงปู่ เนียะ ไปอยู่วัดตะลุง วัดเขาบันไดอิฐ อยู่วัดถ้ำสิงโตทอง อยู่วัดถ้ำรังเสือ อยู่ที่เขาตอม่อ อยู่ที่ไหนที่ไหนจะถามลูกหลาน ได้เลย ว่าไม่เคยหยุดนิ่ง เพียงแค่เราไปอาศัยแค่ข้ามวันข้าม คืน เราก็ทำให้วัดเขาสะอาด ถางหญ้า รดน้ำต้นไม้ พรวนดิน ปลูกต้นไม้ ล้างส้วม กวาดขยะ เก็บหยากเยื่อหยากไย่ ไม่เคยหยุดนิ่ง เพราะความมีธรรมะที่เรารู้อยู่ในตัวเราว่า คนมีธรรมะเขาไม่ได้นิ่งใจมันนิ่ง แต่กิริยาอาการ มิได้นิ่งอยู่ ถ้าขืนว่ากิริยาอาการยังนิ่งอยู่ แล้วเราจะเป็นผู้มีธรรมะไม่ได้ธรรมะเหมือนกับตัวจักรและฟันเฟือง ที่มันไม่ชำรุด มันจะขยับเขยื้อนเลื่อน ทำให้ตัวเป็นยานพาหนะเคลื่อนไปอย่างดีเยี่ยม และก็เป็นระเบียบเรียบร้อย จนกลายเป็นระบบของ ใจ กายคนเราก็เหมือน ตัวยานพาหนะ ธรรมะคือสิ่งที่ เป็นฟันเฟืองอยู่ในใจ ถ้าฟันเฟืองเหล่านั้น มันไม่บิ่น ไม่ชำรุด เสียหาย มันก็จะทำให้ขับเคลื่อนกายไปทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น มาได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าฟันเมืองมันชำรุดเสียหาย นั่นก็คือว่า ความฉิบหายของธรรมะที่อยู่ในใจเสียแล้ว กาย มันก็ไม่อยากจะทำอะไร มีแต่ความระยำอัปรีย์ตลอดกาล ลองไปถามเถอะ ที่ใดที่หลวงปู่เหยียบย่ำเข้าไปนั้น จะไม่เจริญเป็นไม่มี ไปอยู่วัด ตะลุง ลพบุรี ไปอยู่วันแรกก็จับจอบ เสียม ถาง ฟัน ชำระล้าง ไอ้ที่เขารกกัน มาเป็นปีๆ ก็สะอาดภาย ในไม่กี่วันที่เราไปอยู่ จนชาวบ้านชาววัดต้องละอาย ร่วมแรงร่วม ใจกันกลับมาทำ
เพราะฉะนั้น ตัวธรรมะนี้มันไม่ใช่มีเอาไว้สำหรับที่จะ มาเขียนใส่ตำรา คัมภีร์ และก็เรียนกันในห้องเรียน หรือนั่ง กันอยู่ในเฉพาะหอพระกรรมฐาน
ลูก หลานทั้งหลาย การปฏิบัติธรรมอย่าลืมว่า การปฏิบัติธรรม พูดช้าๆ สั้นๆ ให้ได้หนักแน่น และใจความก็คือ "การปฏิบัติธรรมะ" สถานที่ตรงนี้เขาเรียกว่า หอพระกรรมฐาน" กรรม คือ การกระทำ" "ฐานคือ ที่มั่นทำให้มัน เป็นที่มั่นได้" ตราบใดที่เรายังไม่มีการกระทำที่เป็นที่มั่นของตัวเอง อย่าว่าแต่อยู่ในหอเลย อยู่นอกหอก็หาว มันก็ป่วยการเสียเวลาปฏิบัติธรรม กรรมฐาน ทำฐานที่มั่นของตนให้ดี แล้วเราจะทำอะไรละฐานที่มั่นทำอะไร มันไม่ใช่ต้องมานั่งเสียเวลา กับการนั่งหลับตาอย่างเดียวเท่านั้น รวม ไปถึงการ กิน ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยอย่างที่เมื่อวานหลวงปู่ตอบ ว่า สมาธิที่จะใช้กับกิจการงาน? ทำไมต้องเลือกใช้ในเฉพาะกิจการ งาน มันควรจะมีชีวิตให้อยู่ในสมาธิ มีสมาธิเป็นเครื่องอยู่ มีสมาธิ เป็นเครื่องยืน มีสมาธิ กำกับการเดิน มีสมาธิ กำกับการพูด มีสมาธิ กำกับความคิด มีสมาธิกำกับการแสดง มีสมาธิ กำกับการกิน การ ขี้เยี่ยวตดการนอน นั่ง มันควรจะเป็นไปด้วยอิริยาบถแห่งความรู้เนื้อรู้ตัว นั่นถือว่ามีสมาธิ ไม่จำเป็นจะต้องมีเฉพาะแค่ทำงาน และ ถ้าหากว่า คนรู้เนื้อรู้ตัวในขณะกิน ยืนเดิน นั่ง นอน ขี้ เยี่ยว ตด แล้วเนียะ อิริยาบถทั้งหลายคงจะสะอาดหมดจด มันจะไม่มีการกัดกัน ไม่มีการขาขวาเตะขาซ้าย ฟันกัดลิ้นตัวเอง จะไม่มีเด็ดขาด ทุกอย่างมันจะสมบูรณ์แบบในหน้าที่ของมัน
เพราะเรามีตัวเจ้านายที่มัน มีพลังอำนาจ คือตัวสมาธิหรือตัว สติคอย ควบคุมกำกับดูแล กาย วาจา ใจ และอิริยาบถทั้งหลาย ให้ทำงานอย่างสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ยุติธรรม ถูกต้อง ตรงแนว เป็น ไปตามเหตุ ตามปัจจัยของหลักการแห่งธรรมชาติ และเพียบพร้อมไปด้วยการรับผิดชอบต่อหน้าที่แห่งความเกิด และทำงาน นั่นคือคนมีสมาธิ แต่ถ้าอะไรๆ มันยังเลอะเทอะเหลวแหลก เยอะแยะอยู่ละก็ อย่าไปบอกใครว่าเรามีสมาธิ ปกติหลวงปู่ชอบเสียงดนตรี ชอบดอกไม้ ชอบอิสระ ชอบเสรีภาพ ก็เพียรพยายาม จะทำตัวเองให้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เพื่อจะดูตัวเองว่ามันเป็นความ ชอบที่เกิดจากกาม หรือเป็นความชอบที่เกิดจากนิสัยแท้ๆ ก็เพียรพยายามจะตัดจะสะสางตัวเองด้วยธรรมะด้วยความอดทน อดกลั้น ตั้งอกตั้งใจที่จะทำให้มันจริงๆ จังๆ
เพราะฉะนั้น ต้องฝากลูกหลานทั้งหลายเอาไว้ว่า ธรรมะชั้นสูงสุด ยอดวิเศษสุดนั้น ไม่ใช่เรียนมาจากตำรา อย่างที่หลวงปู่บอกเอาไว้ในบทโศลกว่า
ลูก รัก...สุดตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก วินัยปิฎก มันไม่ได้ทำ ให้เจ้าเข้าถึงธรรมะ มันเป็นเพียงสื่อบอกธรรมะเท่านั้น การที่เจ้าจะเข้าถึงธรรมะได้ เจ้าต้องกระทำมันด้วยใจ ทำอะไร หน้าที่ทุกอย่างที่มีด้วยใจ นั่นแหละจะถึงธรรมะ และเป็นธรรมะชั้นสูง เป็น พระบริสุทธิธรรม เป็นวิมุตติธรรม เป็นสัจจธรรม เป็นอริยธรรม เจ้าก็จะได้ถึงความเป็นอริยเจ้า อริยบุคคลได้ในที่สุด
ระเบียบกฎเกณฑ์ กติกา ที่หยุมหยิม ยึกยัก นิดหน่อย น้อยนิดนั้น เจ้าอย่าคิดว่ามันไม่มีประโยชน์ สำหรับพ่อแล้วถือว่า มันเป็นเครื่องมือในการปลุกให้เจ้าตื่น ให้เป็นผู้ตื่น และตื่นอย่าง ระแวงระวังทีเดียวเพราะความระแวดระวังที่จะผิดกับกฎเกณฑ์ กติกา และทำมันด้วยใจนั้น มันจะทำให้เราเป็นผู้รู้ ตื่นขึ้นมาอย่าง ชนิดที่เราไม่คิดว่ามันจะตื่นจริงๆ อย่างนั้นเลย ที่ต้องตั้งกฎเกณฑ์ กติกาเอาไว้สำหรับผู้ใช้ หอพระกรรมฐานเพื่อจะเป็นเครื่องมือปลุกให้เราตื่นเท่านั้นเอง ตื่นจากอะไร? จากความโง่ งี่เง่า หลงงมงาย ตายอย่างชนิดที่ไม่อยากตาย หรือไม่เตรียมตัวตาย ไม่รู้ว่าวันตาย และไม่รู้ว่าชีวิตหลังความตาย เมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้วเราจะรู้ทันที ตื่นจากราคะ จากความโกรธ จากความรัก จากความชัง จากความชอบ จากความหลง จากความตกเป็นทาส ด้วยการยอมรับ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กติกา อันหยุมหยิม ยึกยัก เหล่านั้น มันจะทำให้ เราระแวดระวัง ความระแวดระวังต่อการทำผิดกฎนั่น แหละ คือตัวการแห่งสติ มันคือตัวมหาสติอย่างยิ่งแหละ และจะไปฝึกสติที่ไหนอีก ถ้าเจ้ายังระแวดระวังต่อกฎเกณฑ์กติกาอยู่ การเรียนรู้ธรรมะจากธรรมชาตินี้ มันไม่มีขั้นตอนอะไรมากไปกว่า ชีวิต วิญญาณ ความรับรู้และการยอมรับความจริง และตั้งใจทำเท่านั้นแหละ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น