วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

โอวาทวันไหว้ครู ปี53

โอวาทวันไหว้ครู โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ
(29 พฤษภาคม 2553)



โดยสัญญลักษณ์ของศิษย์อันพึงมีและที่มีอาจารย์จะสอนสรรพวิทยา
สำนักอื่นไม่รู้แต่ที่นี่เป็นเรื่องเป็นราวที่กำหนดกันไว้เป็นกฎเกณฑ์เด่น ชัด นั่นก็คือ

อันดับต้นต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะภูเขาเมื่อสูงก็ไม่มีใครอยากเข้าใกล้
แต่แอ่งน้ำที่ต้อยต่ำสัตว์ทั้งหลายก็ไปดมดอมเข้าใกล้และดื่มกินได้อย่างสบาย
และดีใจเป็นสุขผ่อนคลายได้ฉันใด การที่สานุศิษย์และผู้คนที่ทำตนเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน
ก็เป็นที่นำมาของสรรพวิทยาทั้งสามโลกธาตุก็จะหลั่งไหลพรั่งพรูเข้ามาสู่ตนได้
แต่ถ้าทำตัวเป็นผู้สูงส่งดั่งภูเขาก็ยากยิ่งที่ความรู้ใดๆจะเข้าไปหา มีแต่จะหล่นจากเขา
เพราะงั้นต้องทำตัวเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน นึกอยู่เสมอว่าเราเป็นเพียงแค่ธุลีดิน
เป็นจุลชีพ เป็นชีพหรือเป็นชีวะเล็กๆหนึ่งของจักรวาลของโลกใบนี้เท่านั้น
เราไม่ใช่ผู้ยิ่งใหญ่มาจากไหน ถ้าเข้าใจความหมายนี้ ก็ถือว่าเรื่องในจักรวาล สรรพวิทยาในสามโลก
วิชาทั้งปวงในครูเราก็จะรอบรู้ได้หมด แต่ถ้าหากว่ายิ่งทำตนยิ่งใหญ่ดั่งภูเขา
มันก็ไม่อยากมีใครเข้าใกล้ ความรู้ทั้งหลายก็จะหนีหายและไหลจากไป
ครูบาอาจารย์ก็ยิ่งไม่อยากอบรมสั่งสอนคนที่เย่อหยิ่ง ยโสอวดดี จองหอง พองขน
คนที่รู้จักที่จะอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคาระวะ สำนึก สำรวม
ระมัดระวังพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ของตน
ก็ถือว่าเป็นคนที่พร้อมและควรต่อการสั่งสอน และฝึกหัด ปฏิบัติได้


ข้อที่ สอง นอกจากเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่ขยันหมั่นเพียร ฝึกฝน ศึกษา ค้นคว้า
สรรพวิทยาทั้งปวงอย่างไม่เกียจคร้าน ไม่สันหลังยาว ใครที่อยู่กับหลวงปู่ก็คงจะรู้ว่าชั่วชีวิตหลวงปู่
ไม่เคยแสดงสัญชาติ และทาสแห่งความขี้เกียจออกไปให้ใครเห็น ถามว่ามีมั้ย
มี แต่มันไม่ได้ประโยชน์เลยไม่อยากคบมัน เพราะงั้นต้องทำตนเป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียร
มีความเพียรพยายาม ดั่งคำพระดำรัสของพระบรมศาสดาว่า วิริเย ทุกขะมัสเจติ
บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร เราเป็นผู้เลือกทุกข์ เราเป็นผู้สมั้ครใจเป็นทุกข์
ไม่ใช่จำใจรับทุกข์ คนที่จะเป็นลุกศิษย์ของพระพุทธะอิสระ สมัครใจที่จะเป็นทกข์
ก็แสดงว่า ความทุกข์ที่สมัครใจเป็น หรือสมัครใจมีนั้นเป็นความทุกข์ที่สามารถวางได้ทุกขณะ
วาง แล้ว ว่าง เข้าใจ รู้จัก แล้วดับ และเย็นได้ แต่ถ้าจำใจรับทุกข์ และจำใจเป็นทุกข์

ก็แสดงว่าเราวางอะไรไม่ได้ เพราะความทุกข์มันบีบคั้นเราอยู่ตลอดเวลา
เรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับความทุกข์ คนที่จะเป็นผู้เรียนสรรพวิทยา วิชาทั้งปวง
ในสายของผู้รุ่งเรืองทางปัญญานี้ ต้องเป็นผู้ที่รู้จักทุกข์ อย่างชนิดที่สมัครใจเป็นทุกข์
เมื่อเราสมัครใจเป็นทุกข์แล้ว เราก็จะได้ไม่ต้องแบก ไม่ต้องบรรทุกความทุกข์เดินไป
แบกบรรทุกเอาความทุกข์นอนอยู่ แบกบรรทุกเอาความทุกข์นั่งอยู่ แบกบรรทุกเอาความทุกข์กินอยู่
เราจะเป็นผู้วางทุกข์ในขณะที่เรากิน เวลาที่เราอยากนอน วางทุกข์ได้ในเวลาที่เราเดิน
วางทุกข์ได้ในเวลาที่เรายืนและนั่ง เพราะเราสมัครใจเป็นทุกข์ ก็แสดงว่าความทุกข์นั้น
ถ้าเราจะเป็นทุกข์ ตั้งใจเป็นทุกข์ สมัครใจเป็นทุกข์ ทุกข์อันนั้นต้องมีเป้าหมาย

เป้าหมายแห่งการที่เราจะยอมทุกข์ ก็แสดงว่าต้องสูงส่ง แลกได้แลกเสียแล้ว คิดแล้ว
คำนวณแล้วว่า ทุกข์ครั้งนี้ แม้เราจะเป็นทุกข์ แต่คนอื่นเป็นสุขมากกว่าเราหลายร้อยเท่า
ก็ต้องทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เค้าเรียกว่าสมัครใจเป็นทุกข์ ไม่ใช่จำใจเป็นทุกข์
หรือทุกข์ ไม่รู้จักหาทางออก ทุกข์แล้วไม่รู้ว่าความทุกข์จะวางมันได้เวลาใด วางมันได้เวลาไหน
วางได้อย่างไร ทำไมถึงวางไม่ได้ ก็เพราะว่าเราจำใจ เราไม่มีสติปัญญา
เราไม่มีความเพียรพยายามที่จะปลดเปลื้องภาระกรรม ความชั่วช้าในกายออกไป
ความทุกข์มันก็เลยหมักดองสันดานเราอยู่ไม่จบสิ้น เพราะงั้นเพียรสูงสุด
เพียรที่จะสมัครใจเป็นทุกข์ และเลือกที่จะทุกข์ เพียรหาอยู่หากินก็ไม่ชื่อว่าเพียร เพียรสูงสุด
คือเพียรที่จะเรียนรู้ศึกษาทุกข์ รู้เหตุปัจจัยของความทุกข์ และหาหนทางที่จะดับทุกข์มันให้ได้
ด้วยเมื่อมันจำเป็นจะต้องมีชีวิต ก็ต้องมีแบบชนิดที่เราเลือกทุกข์ เราสมัครใจที่จะเป็นทุกข์


ข้อที่ สาม ต้องเป็นผู้ซื่อตรงทั้งตนเองและคนรอบข้าง
ปากพูดอย่างไร ใจคิดเช่นนั้น
พูด ทำ คิด ต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ลูกศิษย์พระพุทธะต้องซื่อตรง
สิ่งที่พูดออกไป คือสิ่งที่คิดอยู่ในใจ สิ่งที่คิดอยู่ในใจ คือสิ่งที่ลงมือทำได้
แล้วต้องเป็นที่พึ่งของตน และคนอื่นได้ ในสิ่งที่ทำ พูด คิด นั้นด้วย
อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นศิษย์พระพุทธะ


ข้อที่ สี่ ข้อสุดท้าย ต้องมีน้ำใจให้แก่ตนและคนรอบข้างอยู่เสมอๆ คำว่ามีน้ำใจให้แก่ตน
หลายคนอาจจะสงสัย เพราะบางคนไม่รู้จักมีน้ำใจให้แก่ตนเลย ด้วยเหตุผลก็เพราะว่า
เรายอมที่จะจมปลักในกองทุกข์ อย่างนี้เค้าเรียกว่าไม่มีน้ำใจให้แก่ตัวเอง
เรายอมที่จะแบกทุกข์เดินไป แบกทุกข์นั่งอยู่ แบกทุกข์ยืนอยู่ แบกทุกข์นอนอยู่
แบกทุกข์กินอยู่ และแบกทุกข์เดินอยู่ อย่างนี้เค้าเรียกว่าทำร้ายตัวเอง
แม้ที่สุดก็หาสิ่งที่เลวร้ายใส่ตัวเอง ใส่สมองตัวเอง ใส่ใจตัวเอง จนตัวเองเป็นผู้มีทุกข์
อย่างนี้เรียกว่า ไม่มีน้ำใจให้แก่ตัวเอง เมื่อตัวเองยังกล้าทำร้ายตัวเองได้
ไหนเลยจะไม่กล้าทำร้ายคนอื่น งั้นลูกศิษย์พระพุทธะต้องมีน้ำใจอย่างยิ่งที่จะไม่ทำร้ายตัวเอง
แล้วมันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราคิดจะไม่ทำร้ายคนอื่น นอกจากไม่ทำร้ายคนอื่นแล้ว
เราก็ยังรักษาประโยชน์กับคนอื่น แก่คนอื่นด้วย


ทั้ง สี่ข้อนี้คือคำสั่งของครูในปีนี้ ที่จะต้อง ฝึก ดัด หัด สั่งสม และอบรมให้เจริญ
เมื่อศิษย์สามารถทำสิ่งทั้งสี่นี้ได้เจริญใน กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร
ย่อมเป็นหน้าที่ของครูผู้ใจอารีย์ที่เห็นศิษย์ดีต้องทำทุกวิถีที่จะปลุกปั้น
เสก สวด สั่งสอน ให้ศิษย์ได้เป็นผู้วิเศษ และรุ่งเรืองเจริญในที่สุด
แม้จะต้องทุบกระดูกของศิษย์ให้เป็นผุยผง ป่นเป็นแป้งถ้ามันจะทำให้ศิษย์เป็นผู้รู้ตื่น
รู้จักวาง และว่าง เข้าใจ รู้จัก แล้วดับ แล้วเย็นได้
ครูต้องทำ

สรรพวิทยาทั้งปวงที่อยู่ในไขกระดูกของครู เมื่อมีศิษย์ดี
หน้าที่ของครูก็ต้องถ่ายทอดสรรพวิทยาเหล่านั้นออกไปให้ศิษย์ได้ศึกษาเรียนรู้
จนครบถ้วนกระบวนความของความรู้นั้นๆจนสามารถมีความช่ำชอง เชี่ยวชาญ
ชำนาญ ที่จะประกอบภาระกรรม อันเป็นประโยชน์ตนและคนอื่นได้ในที่สุด

สุดท้ายนี้ก็ขอให้ลูกหลานทุกคนจงตั้งใจกล่าวคำบูชาครูในบท มาลาบูชาคุณ


พนมมือ หยิบขันครูขึ้นมา

เรียนรู้ตัวเอง ศึกษาวิชา ลุถึงปัญญา นำพาชีวิต

เรียนรู้ตัวเอง ศึกษาวิชา ลุถึงปัญญา นำพาชีวิต

เรียนรู้ตัวเอง ศึกษาวิชา ลุถึงปัญญา นำพาชีวิต

เปล่งสาธุขึ้น สาม ครั้ง พร้อมกัน


หลวงปู่ให้พร

ด้วย อำนาจแห่งโพธิศรัทธา ในโพธิธรรม จนลุถึงโพธิจิต และโพธิปัญญา
ข้าขออาราธนาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง คุณของพระธรรมเจ้าทั้งปวง
คุณของพระมหาโพธิสัตย์เจ้าทั้งปวง คุณของพระอริยสงฆ์ทั้งปวง
คุณของบิดาและมารดาทั้งปวง คุณของครูบาอาจารย์ อันมีคุณตาฤาษี
กับหมู่ครูเทพทั้งหลาย ครูพรหมทั้งปวง รวมทั้งเทพเจ้าทั้งหลาย อากาศเทวดา
และรุกขเทวดา พระธรณี พระเสื้อเมืองทรงเมือง พระขรรค์ชัยศรี
รวมทั้งท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ มาสถิตสถาพรในแว่นเจิมอันนี้และไม้ครู

เพื่อเป็นเครื่องแสดงออกถึงการบรรจุพลัง อำนาจ ตบะ ชัยชนะ ความสำเร็จ
กำลัง และความสุข ในสรรพวิทยาทั้งปวง ถ่ายทอดให้แก่หมู่ศิษย์ทั้งหลาย
ขอเทพเจ้าทั้งหลายจงช่วยอภิบาล บำบัด บำรุง ดูแล และรักษา
ให้ลูกหลานและศิษย์ทั้งปวง จงเป็นผู้รุ่งเรือง เจริญในธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มีสมาธิ สติ ปัญญา วิชชา ทรัพย์ ลาภ กำลัง และความสุข ทุกท่าน
ทุกคน ทุกทิพาราตรีกาล เทอญ…..


ขอขอบคุณที่มาของบทความ หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara) | Facebook

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น