วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การแก้ปัญหาอธิกรณ์

กรณีศึกษา เรื่องหลวงปู่พุทธอิสระกับการแก้ปัญหาอธิกรณ์

โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara) (บันทึก) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2013 เวลา 16:49 น.
หลวงปู่พุทธอิสระ “มักจะบอกกับลูกหลานเสมอว่า แม้จะต้องสละชีวิต ท่านก็ยอม  เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย “ หลายครั้งที่ท่านได้เข้าไปเกี่ยวพันในการแก้ไขปัญหาอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นของ คณะสงฆ์ ซึ่งทุกครั้งจะมีผลกระทบกับตัวท่านเสมอ แต่ท่านยังคงตั้งมั่นในการรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย โดยที่ไม่กังวลกับสิ่งที่จะตามมา  ท่านมักจะบอกว่า เมื่อเราพูดความจริงถ้ามันจะต้องตายก็ให้รู้ไป  แต่ขอทำเพื่อรักษาไว้ซึ่งพระศาสนา

ซึ่ง ผู้บันทึกได้ขอบันทึกเหตุการณ์บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปแก้ไข อธิกรณ์ของคณะสงฆ์  ที่หลวงปู่ได้เข้าไปมีส่วนในการวินิจฉัยเรื่องราวนั้นๆต่อไป

เรื่อง การแก้ไขอธิกรณ์ที่วัดไผ่หูช้าง

  เดือน ธันวาคมปี 2552 ข่าวหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งเกือบทุกฉบับตีข่าว เจ้าคณะตำบลเจอสีกาดัดหลังนำเทปบันทึกภาพขณะร่วมรักไปฟ้องสำนักงานพระพุทธ ศาสนาข่าวนี้ เปิดเผยเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 ธ.ค. นายภิญโญ คชศิลา ผอ. สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยพระครูถาวรศีลวัตร เจ้าคณะอำเภอบางเลน จ.นครปฐม เข้าขอความร่วมมือ พ.ต.ท.วิสูตร สถิตย์ สวญ.สภ.บางหลวง จ.นครปฐม นำกำลังเดินทางไปที่วัดไผ่หูช้าง ต.ไผ่หูช้าง อ.บางเลน จ.นครปฐม เพื่อจับตัวพระครูภัทรกิจพิศาล หรือ "พระอาจารย์ไพศาล" อายุ 49 ปี เจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้าง และเจ้าคณะตำบลไผ่หูช้าง หลังจากที่นางหนึ่ง (นามสมมติ) อายุ 30 ปี นำหลักฐานเป็นวีดิโอเทปบันทึกภาพขณะร่วมรักกับพระครูภัทรกิจพิศาล เข้าร้องเรียนต่อสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม แต่เมื่อเดินทางไปถึง ทราบว่าพระครูภัทรกิจพิศาลไหวตัวทันปิดกุฏิหลบหนีออกจากวัดไปก่อนหน้าแล้ว เจ้าหน้าที่จึงนำภาพวีดิโอดังกล่าวมาเปิดให้กรรมการวัดและคณะสงฆ์กว่า 20 คนดูเพื่อเป็นสักขีพยานเป็นภาพการร่วมรักของพระครูภัทรกิจพิศาลกับสีกาคน หนึ่งอย่างโจ๋งครึ่ม ทำเอากรรมการวัดและพระสงฆ์ถึงกับด่ากันขรม เพราะไม่คาดคิดว่าพระสงฆ์ระดับเจ้าคณะตำบล และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนจะกระทำเรื่องบัดสีบัดเถลิงได้ขนาดนี้   

จาก ข่าวดังกล่าวเบื้องต้นทำให้ผู้บันทึกย้อนนึกถึงเรื่องราวในอดีตที่เคยมีความ เกี่ยวข้องกับหลวงปู่พุทะอิสระ  ในการเข้าไปมีส่วนร่วมการวินิจฉัยคดีของเจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้าง ซึ่งในที่นี้ผู้รวบรวมข้อมูลขอบันทึกเรื่องราวในเวลานั้นให้เป็นข้อมูลต่อไป

      ใน ปีพุทธศักราช 2545 หลวงพ่อพระเทพคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐมได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ในการวินิจฉัยพิจารณาคดีเจ้าอาวาสวัดไผ่หู้ช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยมีคณะกรรมการจำนวน 6 รูป คือ พระครูถาวรศีลวัตร พระมหาสมชัย ฐิตเมโธ พระครูโสภณกิจวิบูลย์ พระมหารวม สุเมธี หลวงปู่พุทธอิสระ เข้าพิจารณาวินิจฉัยคดีที่มีผู้ร้องพระครูภัทรกิจพิศาล หรือ "พระอาจารย์ไพศาล เจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้างว่ากระทำผิดพระธรรมวินัย ในข้อหามั่วสีกา มีผู้หญิงเข้ากุฏิตอนกลางคืนใช้เงินวัดในการส่วนตัว ฯ รวมทั้งสิ้น 7 ข้อกล่าวหา ในคดีนี้มีข้อโต้แย้งอย่างมากเพราะเจ้าอาวาสเป็นพระที่มีชาวบ้านและคณะสงฆ์ สนับสนุนอยู่เป็นจำนวนมาก ฝ่ายผู้ร้องมีการร้องอย่างต่อเนื่องมานานแต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ  ในครั้งนี้หลังจากที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาในการวินิจฉัยคดีได้ มีการนัดสอบสวนและวินิจฉัยกันที่วัดลานคา ซึ่งเป็นวัดของเจ้าคณะอำเภอ ฝ่ายผู้ถูกร้องคือเจ้าอาวาสนั้นมีชาวบ้านเข้ามาฟังเป็นจำนวนมากกว่าผู้ร้อง  ในการสอบสวนวันแรกนั้นได้มีการตั้งข้อหาทั้งสิน 7 ข้อกล่าวหาทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับสีกา และ การเงิน คณะกรรมการได้ให้เวลาเจ้าอาวาส 15  วันในการไปหาพยานหลักฐานมาเพื่อแก้ข้อกล่าวหาต่างๆ

ใน การสอบสวนวันแรกนั้นหลวงปู่ได้ซักถาม เจ้าอาวาสวัดไผ่หู้ช้างอย่างหนักทั้งเรื่องมั่วสีกา และ เรื่องการเอาเงินวัดไปใช้ ระหว่างที่หลวงปู่สอบสวนอยู่นั้นได้มีชาวบ้านคอยตะโกนใช้คำรุนแรงตอบโต้หลวง ปู่ตลอดเวลา  และ กล่าวหาว่าหลวงปู่เจตนาที่จะแกล้งเจ้าอาวาสโดยเฉพาะโยมเล็ก ( มีข้อมูลว่าเป็นหนึ่งในเมียของเจ้าอาวาส ) ซึ่งหลวงปู่เองท่านก็ได้ทำการซักถามต่อไปอย่างปกติ ที่สุด คณะกรรมการได้ให้เวลาเจ้าอาวาสจำนวน 15 วันในการไปหาพยานหลักฐานมายืนยันกับคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว จะได้มีการวินิจฉัยกันอีกครั้งหนึ่งในวัดลานคา 

ซึ่ง ในครั้งนี้เจ้าอาวาสได้หาพยานหลักฐานมายืนยันกับข้อกล่าวหาต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นที่พยานฝ่ายผู้กล่าวหาไม่ชัดเจน  จนคณะกรรมการส่วนใหญ่ได้มีความเห็นว่าคดีนี้พยานหลักฐานอ่อนให้ยกฟ้องไป ชาวบ้านในฝ่ายของเจ้าอาวาสยังไม่หยุดกล่าวโจมตีหลวงปู่   จนในขณะที่ประชุมอยู่นั้นได้มีนางทองพูน  ได้ลุกขึ้นท่ามกลางที่ประชุม ขอกล่าวหาเจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้างว่า เคยได้เสียกับตนและนางทองพูนขอให้มีการสอบสวนกรณีนี้  นางทองพูน ได้แจ้งกับที่ประชุมว่านางจำได้แม้แต่ตำหนิในร่มผ้าของเจ้าอาวาส

ซึ่ง ในประเด็นนี้หลวงปู่ท่านเห็นควรรับข้อร้องเรียนของนางทองพูน โดยนางทองพูนได้เขียนรายละเอียดตำหนิในร่มผ้าของเจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้างส่ง ให้กับคณะกรรมการ แต่ คณะกรรมการส่วนมากบอกว่าไม่ควนนำมาพิจารณาคดีให้ยกไป หลวง ปู่ได้แย้งและเห็นต่างกับคณะกรรมการในส่วนนี้ว่าผู้หญิงคนนี้กล้าที่จะลุกมา ในหมู่ของผู้เป็นศัตรู แสดงว่าเขาเดือดร้อนจริง สมควรจะต้องอนุเคราะห์เขา อีกทั้งถ้าเจ้าอาวาสบริสุทธิ์จริงควรจะกล้าพิสูจน์ จะทำให้งดงามในพระธรรมวินัย

แต่สุด ท้ายคณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าให้ยุติเรื่องนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ ไม่รับเรื่องของนางทองพูน มาพิจารณา ภายหลังจากการพิจารณาคดีหลวง ปู่ท่านได้ปรารภกับลูกหลานว่า ท่านเบื่อคณะสงฆ์ที่ไม่เห็นแก่พระธรรมวินัย เห็นแก่พวกพ้องเป็นหลักไม่ยึดเอาความถูกต้อง ไปช่วยเหลือคนทำผิด ไปยกย่องให้ความคุ้มครองกับคนที่เป็นผัวชาวบ้าน อย่างนี้นับวันพระศาสนาก็จะมีแต่ความเสื่อมเสียในที่สุด ซึ่งท้ายที่สุดนี้คดีนี้ก็มีคำวินิจฉัยว่าเจ้าอาวาสไม่มีความผิดใดๆ

  เหตุการณ์ ผ่านไปหลายปีจนเกิดข่าวใหญ่หน้า 1  หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ทั้งสื่อทีวีเผยแผ่ภาพคลิปข่าว เจ้าอาวาสวัดดังในนครปฐมมั่วสีกาในกุฏิ ซึ่งวัดนั้นก็คือวัดไผ่หูช้างนั้นเองโดยในภาพข่าวได้มีภาพอย่างชัดเจน  จากการสอบสวนพบว่ามีผู้หญิงที่เคยเป็นเมียเจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้างหลายคน และ เจ้าอาวาสดังกล่าวได้หนีไปจากวัดโดยปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ใด  ซึ่ง เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้เห็นว่า  คณะสงฆ์มีความอ่อนแอในการควบคุมตรวจสอบดูแลการประพฤติตามพระธรรมวินัยของพระ สงฆ์จนทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย

เรื่อง การแก้ไขอธิกรณ์ที่วัดหนองปลาไหล

    ใน ปลายปี 2542 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านวัดหนองปลาไหล ได้ร่วมกันเดินทางมายังวัดอ้อน้อย ( ธรรมอิสระ ) เพื่อขอพบหลวงปู่พุทธอิสระ ในฐานะเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง โดยยื่นหนังสือร้องเรียนว่า พระครูโกศลนวการ (สวัสดิ์ จนฺทสาโร ) เจ้าอาวาสวัดหนองปลาไหล กระทำประพฤติมิชอบตามพระธรรมวินัย เล่นหวยเถื่อน ทำบัญชีและใช้เงินวัดไม่ถูกต้อง ตัดต้นไม้ภายในวัดขาย อนุญาติให้ญาติใช้ที่ดินของวัดหาผลประโยชน์ส่วนตัว ปล่อยให้วัดชำรุดทรุดโทรม ซึ่งหลวงปู่เมื่อได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ดังกล่าวแล้วในฐานะเจ้าคณะตำบล  จึงได้ดำเนินการในการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยท่านได้นัดให้ชาว บ้านซึ่งเป็นฝ่ายผู้กล่าวหา และ เจ้าอาวาส ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา มาเข้าร่วมประชุมเพื่อสอบสวนอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น

ใน วันที่ 30 ธันวาคม 2542 ณ ศาลาการเปรียญวัดหนองปลาไหล โดยหลวงปู่ท่านได้สอบสวนเจ้าอาวาสผู้ถูกกล่าวหาและมีชาวบ้านเข้าร่วมในการ วินิจฉัยคดีครั้งนี้ประมาณ 200 คน หลวงปู่ได้สอบในประเด็นต่างๆที่กล่าวหาอย่างครบถ้วน  ซึ่งเจ้าอาวาสไม่สามารถชี้แจงตอบปัญหาข้อซักถามของหลวงปู่ได้ เจ้าอาวาสได้ยอมรับในทุกข้อกล่าวหา และ ขอโอกาสแก่หลวงปู่  ซึ่งหลวงปู่ท่านให้พิจารณาแล้วจึงแจ้งกับชาวบ้านว่า    ท่านจะให้เจ้าอาวาสพิจารณาตัวเองโดยการออกไปจากวัดภายใน 3 วัน   แต่เจ้าอาวาสขอเป็นระยะเวลา 7 วันหลวงปู่ท่านยืนยันว่าจะต้องภายในกำหนด ที่ท่านให้เท่านั้น และ หลวงปู่ได้ถามชาวบ้านว่าเห็นด้วยกับคำตัดสินหรือไม่ ซึ่งชาวบ้านเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของหลวงปู่ การประชุมวันนั้นจึงจบลง

แต่ หลังจากนั้นเพียง 2 วันกับเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น คือ  ได้เกิดอุบัติเหตุแก่เจ้าอาวาสในขณะบิณฑบาตรตอนเช้าได้ถูกรถมอเตอร์ไซค์ชนจน ถึงแก่มรณะภาพ  ภายหลังจากที่เจ้าอาวาสวัดหนองปลาไหลมรณะภาพลงหลวงปู่ท่านได้เข้าตรวจสอบ กุฏิเจ้าอาวาส และได้พบโพยหวย เหล้าดอง ในกุฏิเจ้าอาวาสที่มรณะภาพไป  ท่านจึงได้ปรารภกับลูกหลานว่า ไม่มีใครหนีพ้นอำนาจแห่งกรรมไปได้เลย