คัมภีร์มรณะ
มรณะ แปลว่า ความขาดจากภพหนึ่งๆ หรือตายจากชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง
มรณะ แปลว่า ความขาดจากภพหนึ่งๆ หรือตายจากชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง
สติ แปลว่า ความระลึก รู้สึกตัว
เพราะฉะนั้น มรณสติ จึงแปลว่า ความระลึกรู้สึกถึงความ ขาดจากภพ หรือระลึกรู้สึกถึงความตาย ที่กำลังปรากฏแก่เรา จักปรากฏแก่เรา
มรณะหรือความตาย มี ๓ ลักษณะคือ
สมุจเฉท มรณะ ได้แก่ ความตัดขาดจากชาติ ภพ ทั้งปวง หรือความตายจากวังวนแห่งวัฏสงสารสภาพเช่นนี้จักมีได้ก็แต่เฉพาะพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าสหรือพระอรหันตสาวกเท่านั้น
ขณิกมรณะ ได้แก่ ความดับ ความขาด ความตายแห่งสังขาร สสาร เซลล์ต่างๆ ภายในกาย และนอกกาย ซึ่งปรากฏ อยู่ตลอดเวลา เช่นผิวหนังของคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดก็มีการแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ตอนเกิดมาใหม่ๆ ผิวหนังของร่างกายนี้ ก็เปราะบาง พอมากระทบกับอุณหภูมิรอบๆ กายภายในโลก ผิวหนังที่บางอ่อนนั้นก็ทนอยู่มิได้ ก็ต้องตายลง ร่างกายจึงต้องสร้างเซลล์ผิวหนังที่แข็งแรง ทนต่อสภาพบีบคั้นเผาผลาญให้ได้ แต่ในที่สุดเซลล์ที่แข็งแรงนั้นก็ต้องตายลงอีกเมื่อถึงกาลอันควร ร่างกายนี้ก็ต้องปรับสภาพ สร้างเซลล์ผิวหนังรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ มีอยู่ในอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้ แม้แต่ผมและเล็บ ส่วนที่สังเกตเห็นการเปลี่ยน แปลงเกิดดับได้ง่ายที่สุด คือ ผมและหนัง ส่วนอวัยวะใดที่เซลล์ เล็กๆ เกิดขึ้น แล้วเกาะกลุ่มรวมกันอย่างหนาแน่น เกิดการควบแน่นจนเข้มแข็ง เช่น กระดูกต่างๆ และเล็บ เราจักสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะหนีพ้นสภาพการเกิดดับไม่ รวมความแล้วขณิกมรณะ มีอยู่ในสรรพสิ่ง สรรพชีวิต และสรรพบุคคลทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่พรหมสมารสที่เรายังเห็นทรงสภาพอยู่ได้ก็เพราะยังไม่หมดกรรม และยังไม่สิ้นอายุขัย
สัมมติมรณะ (การตายในสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ได้แก่การย่อยสลาย แตกหักพัง หมดสภาพ หมดอายุของวัตถุธาตุทั้งหลายรอบๆ กายเรา เช่น แก้วแตก แก้วร้าว กระ-ป๋องรั่ว ชามบิ่นร้าวแตก ภูเขาทลาย แผ่นดินถล่ม ต้นไม้ตาย เหล่านี้เป็นต้น สัมมติมรณะ จักเกิดขึ้นได้ด้วยอาการหมดอายุขัย เสื่อมสภาพ มีเหตุปัจจัย
เหล่านี้คือสภาพแห่งความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้นทุกขณะ ที่ใครก็มิอาจปฎิเสธได้ ไหนๆ มันจักต้องเกิดขึ้นแก่ทุกสรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ องค์พระพุทธะผู้ประเสริฐพระองค์นั้นท่านทรงสอนให้เราต้องไม่เกรงกลัวมัน เหมือนแต่ก่อน แต่ต้องเข้าไปหามันไปทำความรู้จักเข้าใจมันให้ชัดแจ้ง ด้วยสติปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง
เมื่อเรารู้จักเข้าใจสภาพ แห่งความเป็นจริงในตัวมันแล้ว พระพุทธะพระองค์นั้น ก็ทรงสอนให้เรารู้จักที่จะใช้มันให้ประโยชน์กับมันบ้าง แต่ต้องได้ประโยชน์จากมันสูงสุด และสุดท้าย ต้องไม่ยึดติดกับมัน เมื่อมันถึงเวลาที่จะแตกดับ
ทีนี้เราก็มาศึกษาอาการมรณะหรือตาย แห่งกายนี้ว่ามีกี่อย่าง อาการมรณะแห่งกายนี้ท่านสอนเอาไว้ ๒ อย่างคือ
กาลมรณะ กาลมรณะนี้จักเกิดขึ้นได้แก่กายนี้ ด้วยเหตุ เพราะสิ้นบุญและสิ้นบาป หรือเพราะหมดอายุขัย
เพราะ สิ้นบุญ ถ้าจักยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ก็คงต้องยกตัวอย่างเทวดา เทวดาที่บังเกิดในสรวงสวรรค์หรือมนุษย์ที่เกิดในตระกูลดี ชาติดี สมบัติดี ปัญญาดี สุขภาพดี วรรณะดี เหล่านี้ ถือได้ว่าเพราะบุญ จึงทำให้ได้อัตภาพที่ดี ต่อมาเมื่อหมดบุญหรือหมดทุนเก่า ถ้าเป็นเทวดาก็จักแสดงอาการเตือนให้รู้ว่ากำลังจะหมดบุญแล้วนะ เช่น ฉวีวรรณเศร้าหมองลง มีเหงื่อไคลซึมทั่วร่างกาย กลิ่นตัวปรากฏ ประสาทสัมผัสเลวลง แล้วก็มีอาการฟุ้งซ่านหงุดหงิดรำคาญในอัต-ภาพที่เป็นอยู่ ส่วนมนุษย์อาการที่แสดงออกของการหมดบุญก็คือ ทุกอย่างที่มี ดีและเลิศ จักเสื่อมลง อาจจักเสื่อมไม่พร้อมกันหรือพร้อมกันก็ได้ แล้วแต่บุญใครอย่างไหนมากน้อยจนเป็นเหตุให้มิได้รับการยอมรับเชื่อถือ เช่นเชื่อถือว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอายุยืน สุขภาพแข็งแรง แต่อาการที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นกลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามเลยมิได้รับการยอม รับเชื่อถือ จนในที่สุดทั้งเทวดาและมนุษย์ ก็ตามที่มาเกิดได้เพราะมีบุญมาดี มีทุนมามาก เมื่อหมดบุญหมดทุนเก่า คือใช้หมดแล้วก็ต้องถึงกาลมรณะหรือตาย เรียกว่า ตายเพราะหมดบุญ
เพราะสิ้นบาป อันได้แก่ ผู้ที่มีชีวิตเกิดมาตกอยู่ในห้วงแห่งความระทมทุกข์เดือดร้อนทรมานด้วยอาการ ต่างๆ ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือพวกสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัมภเวสี สัตว์เดรัจฉาน และมนุษย์ที่ต้องรับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ซึ่งเวทนานั้นอาจจะติดตัวมาตลอดชีวิต หรือปรากฏขึ้นภายหลังก็ตามที ครั้นสัตว์เหล่านั้นได้ชดใช้บาป หรือกรรมไม่ดีจนหมดสิ้น แล้วก็ถึงกาลมรณะลง เรียกว่า เกิดมาได้ด้วยบาปกรรมชั่ว
ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจเรื่องแห่งความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่า บุญนั้นเป็นสมบัติที่เรามาใช้ บาปนั้นเป็นหนี้ที่เราต้องมาชดใช้
เพราะ สิ้นอายุขัย คำว่าสิ้นอายุขัย หมายรวมไปถึงการสิ้นอายุขัยของเซลล์เล็กๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอวัยวะทั้งผอง ในร่างกายนี้ เมื่อองค์ประกอบทั้งหลายของกายนี้มันได้เสื่อมสภาพ เพราะหมดอายุขัย จึงทำให้กายนี้ต้องตายจากชาติภพปัจจุบัน
มีข้อสังเกตว่า ส่วนใหญ่การตายเพราะหมดอายุขัย มักจะมีแก่คนผู้มีอายุมาก สำหรับผู้มีอายุน้อยแล้วตายเพราะหมดอายุนั้นมักจะไม่ค่อยมี อกาลมรณะ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีเหตุปัจจัยจากบุพกรรม อันหนักที่ตนทำไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็นอดีตกรรมและปัจจุบันกรรม
อายุขัยแห่งบุคคลในพุทธกัป ป์นี้ ควรจักมีสัก ๑๐๐ ปี แต่เมื่อมากระทบกับอดีตกรรม ซึ่งเป็นกรรมอันหนัก ให้ผลอย่างรุนแรง รวดเร็ว แทรกเข้ามาตัดรอนห้วงเวลา อายุ กาลของชีวิตที่ควรจักอยู่ถึงร้อย ให้เหลือน้อยและสั้นลง ทำให้ต้องตายก่อนกำหนด ด้วยทัณฑกรรมต่างๆ ที่ตนทำไว้แต่อดีต เช่น ตายเพราะอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น เดินอยู่ดีๆ บนถนน ต้นไม้ล้มมาทับ ตาย หรือเป็นโรคร้ายแรง จนทำให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย เป็นต้น
ปัจจุบัน กรรม กรรมที่บุคคลกระทำในปัจจุบัน แล้วเป็นผลให้ตนต้องตาย เช่น ทะเลาะวิวาทกัน และโดนทำร้ายจนตาย ประมาทมัวเมา สนุกสนานจนเพลิน เป็นเหตุให้ตนต้องเสียชีวิต เช่น ขับรถแข่งกันแล้วประสบอุบัติเหตุจนตาย หรือไม่ก็ไปก่อเวร-ภัยแก่ผู้อื่น เลยโดนผู้นั้นรุมทำร้ายจนตาย เหล่านี้เป็นกรรมหนักในปัจจุบัน ที่มีเหตุให้แทรกเข้ามาตัดรอนอายุขัยของตนให้สั้นลง
บุคคลผู้ปรารถนา จะเจริญมรณสติ พึงพิจารณาด้วยอาการ ๘ อย่างดังนี้ สัตว์ทุกชนิด เมื่อมีชีวิตต้องรับทัณฑกรรมคือความตาย ในที่สุดพิจารณาให้รู้ชัดลงไปว่า สรรพชีวิตทุกชนิดเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมพาเอาความเสื่อม เก่าแก่ และตาย มาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ประดุจดังชีวิตที่เกิดอยู่ในแดนประหาร มีเพชฌฆาตถือมีดและปืนจ่อรออยู่ เมื่อถึงเวลาก็ลงมือประหารชีวิตนั้นโดยมิรีรอ ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหมือนดั่งพระอาทิตย์ที่ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วกำลังเดินทางไปสู่ทิศตะวันตกในที่สุด แสงนั้นก็ลับหายไปจากขอบฟ้า ไม่มีใ่ครสามารถเรียกให้พระอาทิตย์นั้นเดินทางย้อนกลับมาได้ มีแต่ว่าต้องรอให้ถึงวันใหม่ (นั่นคือการเกิดของอีกชีวิตหนึ่ง) ชีวิตนี้เหมือนดังก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา แล้วกลิ้งลงมาสู่ตีนเขาเบื้องล่าง ไม่สามารถจะหยุดยั้งให้หยุดระหว่างกลางเขาได้ จนท้ายก็ต้องตกลงมากระทบพื้นเบื้องล่างแตกกระจาย น้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่อกระทบกับลมและแดด ย่อมเหือดแห้งไปฉันใด ชีวิตของสรรพ-สัตว์ เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องตายไปฉันนั้น ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงในชีวิตคือความตาย
พิจารณาถึงความวิบัติแห่งสมบัติทั้ง ปวง อันมีทรัพย์สิน เงินทอง ลาภสักการะ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ชื่อเสียง อำนาจวาสนา เรือกสวนไร่นา ข้าทาสบริวารหญิงชาย ทั้งหลายเหล่านี้ มีอันต้อง วิบัติแตกสลาย มลายสูญสิ้นไปในที่สุด แม้แต่องค์อินทร์ยังเสื่อม จากทิพย-สมบัติที่มี เมื่อถึงกาลที่ต้องวิบัติ สาอะไรกับเรา ท่านทั้งหลาย จะรอดพ้นจากวิบัติได้กระนั้นหรือ
สมบัติทั้งหลายจักวิบัติได้ด้วยลักษณะดังนี้
วิบัติโดยความหมดไป สิ้นไป
วิบัติโดยเวรภัยต่างๆ
วิบัติโดยความเสื่อมเก่า คร่ำคร่า
วิบัติโดยความแตกร้าว บุบสลาย ทำลาย พินาศไป
วิบัติโดยความสูญหาย
วิบัติโดยหมดวาสนา บารมี
ระลึก ถึงความตายของผู้อื่น แล้วน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตน เช่น เวลาไปงานศพในที่ต่างๆ หรือฟังข่าวสารการมรณะของคนและสัตว์ ก็ให้น้อมมาระลึกว่า โอ้หนอ....แม้แต่ท่านผู้มียศใหญ่ วาสนาดี มีบุญมาก ซ้ำยังประกอบไปด้วยความแข็งแรง มีกำลังวังชาประดุจดังพญาช้างสาร มีปัญญารอบรู้ เฉลียวฉลาด มีฤทธิ์อำนาจมากมาย ยังต้องตาย สาอะไรกับเรา เป็นผู้ด้อยกว่าเขาด้วยประการทั้งปวง จะล่วงพ้นความตายไปได้กระนั้นหรือ
พิจารณา เปรียบเทียบย้อนไปถึงอดีต แม้แต่พระอรหันต์ผู้เลิศฤทธิ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เลิศญาณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศปัญญา ยังมิอาจพ้นจากความตายได้ จักกล่าวไปไยกับเราผู้เป็นปุถุชนที่อ่อนแอ และโง่-เขลา จักล่วงพ้นจากความตายไปได้ เล่า โอ้หนอ....ความตายนี้ช่างเป็นสาธารณะแก่คนและสัตว์ทั้งหลายเสียจริงๆ
พิจารณา ถึงกายนี้ ว่าเป็นรังของโรค เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นแผ่นหนังห่อหุ้มกายนี้ เมื่อเซลล์ผิวหนังเหล่านี้ตาย ก็จักบังเกิดเซลล์ตัวใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทนเซลล์เหล่านี้เกิดและมีชีวิต อยู่ได้ด้วยน้ำเลือดที่ประกอบด้วยสารอาหารที่กายนี้ดื่มกินเข้าไป แล้วยังต้องอาศัยอากาศที่หมุนวนอยู่รอบๆ กาย น้ำที่ซึมซาบอยู่ในกายเป็นเครื่องอยู่ กายนี้นอก-จากประกอบด้วยเซลล์ผิวหนัง เซลล์เนื้อ เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก เซลล์เยื่อกระดูก เซลล์ไขกระดูก แล้วยังมีเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ อันเป็นองค์ประ-กอบของอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้
สิ่งมีชีวิตที่เป็น เซลล์เล็กๆ เหล่านี้ ต่างพากันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วตายไป สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ จนกว่าเหตุปัจจัยของการเกิดแห่งเซลล์ชีวิตเหล่านี้ จักหมดสิ้นอายุและขาดตอนลง นอกจากกายนี้ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เป็นเซลล์ของร่างกาย แล้วกายนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นอีกหลายชนิด ที่อิงอาศัยเกาะกินส่วนต่างๆ ของกายนี้ เช่น ถ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้น อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จักเกาะกินเซลล์ผิวหนัง อาศัยอยู่ที่เนื้อก็เกาะกินเซลล์เนื้อ อาศัยอยู่ที่พังผืดและเอ็นก็เกาะกินพังผืดและเอ็น อาศัยที่กระดูกก็เกาะกินกระดูก อาศัยอยู่ที่เยื่อกระดูก ก็เจาะกินเยื่อในกระดูกนั้น นอกจากจะเกาะกินเซลล์ต่างๆ ภายในกายนี้แล้ว มันยังขับถ่ายผสมพันธุ์ เกิด ตาย อยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่นั้นอีกด้วย
กาย นี้จึงได้ชื่อว่า เป็นที่อาศัยสาธารณะของสิ่งมีชีวิต หรือเชื้อโรคเล็กๆ ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก กายนี้เป็นที่ผสมพันธุ์ เป็นที่เกิด เป็นที่ถ่ายของเสีย เป็นที่หมักหมมของโสโครก เป็นป่าช้า เป็นรังของโรคร้ายต่างๆ
นอกจากกายนี้เป็นป่าช้า คือ เป็นที่ตายของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้ว เป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายแก่กายนี้แล้ว กายนี้ยังมีเหตุให้ถึงแก่ความตายอย่างง่ายดายจากภายนอกอีกนานัปการ เช่น โดนสัตว์มีพิษน้อยใหญ่ขบกัดตาย โดนอาวุธซัดตาย หกล้มตาย ตกจากที่สูงตาย ได้รับอุบัติภัยต่างๆ แล้วตาย เกิดลมกำเริบภายในแล้วตาย หิวตาย กระหาย ตาย อิ่มตาย ฯลฯ
พิจารณาให้เห็นว่า เหตุของความตายแห่งกายนี้มีมากมาย ง่ายดายเหลือเกิน ตายได้โดยมิเลือกเวลา นาที วัน เดือน ปี และสถานที่
พิจารณาให้เห็นว่า กายนี้มีความตายเป็นสาธารณะ
พิจารณา ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ชีวิตนี้เป็นภาระยิ่งนัก เป็นความรุงรังที่ต้องคอยบริหาร ชีวิตนี้เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ไม่มีคุณสมบัติที่จักดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง กายนี้จำต้องพึ่งพิงอิง อาศัยสรรพชีวิต สรรพสิ่งต่างๆ มากมาย เช่นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ยังต้องอาศัยบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง อุปการะเลี้ยงดู ต้องอาศัยอากาศหายใจ กายนี้ต้องอิงอาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และปัจจัยต่างๆ อีกมากมาย
ชีวิตนั้นนอกจากจะต้องพึ่งพิง อิงอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมายแล้ว ชีวิตและกายนี้ ยังต้องอาศัยความพยายามที่จักมีบริหาร ให้อยู่ในอิริยาบถ ๔ อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน จักขาดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งมิได้ และจักมีอิริยาบถใดมากเกิน ไปก็เจ็บปวดเป็นทุกข์ทรมาน จนบางครั้งบางท่านถึงขนาดล้มป่วย และตายลงในที่สุด
กายนี้นอกจากจะ ไม่มีเอกภาพ ในความดำรงอยู่ด้วยตัวเองแล้ว กายนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ต้องอิงอาศัยการบริหารจัดการ ดูแลรักษาให้ธาตุทั้ง ๔ ภายในภายนี้ ดำรงสมดุลต่อกันและกัน ต้องเพียรพยายาม ประคับประคองมิให้ธาตุใดกระเพื่อมพร่องเกิน มิเช่นนั้นกายนี้ ก็จักตั้งอยู่มิได้ จะต้องได้รับทุกข์ทรมานเจ็บปวดจนตาย
เพราะฉะนั้น ชีวิตและกายนี้จึงเป็นสิ่งที่ทุพพลภาพ พร่องอยู่ตลอดเวลา เราทั้งหลายจึงต้องมีงานอันหนัก ตั้งแต่เกิดจนตาย
ชีวิต ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเครื่องหมายว่าจักตายในขณะใด บางพวกอาจตายเสียก่อนตั้งแต่ยังเป็นดวงจิตวิญญาณ ที่ล่องลอยไปตามอำนาจกรรมก็มี บางพวกอาจจักตาย ในขณะที่เป็นเปรตเสียก็มี บางพวกก็ตายในขณะที่เป็นก้อนเนื้ออยู่ในครรภ์มารดาได้ ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ เดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน บางพวก ก็ตายหลังจากออกมาจากครรภ์มารดาแล้วก็มี
ชีวิตและกายนี้ ไม่แน่ว่าจักตายในขณะใด จักตายเวลาไหน จักตายด้วยโรคอะไร ตายด้วยอาการเช่นไร ตาย ณ สถานที่ไหน
ความ ตายเป็นของไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนต้องตาย เมื่อตายแล้วก็ไม่แน่ว่า จักไปเกิดในที่ใด บางพวกตายจากอัตภาพเทวดา ก็มิใช่ว่าจักมาเกิดเป็นมนุษย์ อาจจะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือสัตว์นรกก็ได้ บางพวกตายจากมนุษย์ก็ไม่แน่ว่าจะไม่เกิดเป็นสัตว์นรก หรือสัตว์เดรัจฉาน อาจจักไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ แล้วแต่บุญทำ กรรมส่ง ชีวิตนี้ จึงดูมิได้มีเครื่องหมายบอกให้เรารู้เสียเลยจริงๆ
สมองให้เห็นตาม เป็นจริงว่า เวลาแห่งชีวิตนี้น้อยนัก บางพวกก็มีอายุแค่หนึ่งร้อย ส่วนที่เกินร้อยนั้นมีน้อยนัก ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ไม่ถึงร้อย ชีวิตนี้มักจะมีอายุขัยน้อยนัก อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบดังฟองน้ำที่ปรากฏบนผิวน้ำ บัดเดี๋ยวก็แตกกระจาย ชีวิตและร่างกายนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างมีเวลาและวาสนาในการดำรงชีวิตอยู่ไม่เท่ากัน เหมือนดังฟองน้ำบนผิวน้ำ ที่ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง และในที่สุดก็จักต้องแตกดับลงอย่างรวดเร็ว อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงบนพื้นผิวน้ำปรากฏประเดี๋ยว เดียวก็หายไป ดูว่าชีวิตช่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เสียจริงๆ แม้แต่สรรพสิ่งที่เกี่ยว-ข้องกับชีวิต เมื่อปรากฏขึ้นแล้ว ก็มิได้มีอะไรคงทนถาวร ตลอดกาล ตลอดสมัยเหมือนน้ำตกที่ไหลจากที่สูง มีแต่จักไหลลงไปสู่เบื้องล่างแต่ถ่ายเดียว ชีวิตไม่ว่าจักเริ่มต้นจากสูง ต่ำ ปานกลาง ยาว สั้น เล็ก ใหญ่ ประการใด สุดท้ายก็ต้องตกลงไปสู่ความตายในที่สุด ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธ ได้เหมือนดังน้ำที่ไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอมิมีใครห้ามได้ เหมือนชิ้นเนื้อที่วางไว้บนกะทะเหล็กที่ร้อนแรง เนื้อนั้นก็มีแต่จักไหม้ไปโดยเร็ว
ความเป็นไปของชีวิตนี้ ไม่ว่าจักมั่งมีมากมายหรือจนยากลำบากทั้ง-หลาย เลวดี หรือมีสุข ทุกข์ อย่างไร ถ้าชีวิตตั้งอยู่บนความประมาท ขาดปัญญา ที่สุดตนก็ต้องรับโทษ ทุกข์ภัย ทรมานกายใจ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนดังชิ้นเนื้อที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังระเริงอยู่บนกะทะที่ตั้งไฟ หรือเหมือนกับ โคที่เขาเลี้ยง เอาไว้เพื่อฆ่า นับวันก็ยิ่งใกล้วันโดนฆ่าเข้าไปทุกที ความประมาท มัวเมา ในกามคุณทั้งหลาย โดยไม่คำนึงถึงความตายคงไม่ต่างอะไรกับโคที่เห็นหญ้าอ่อน แล้วตรงรี่เข้าไปหาเพื่อแทะเล็ม เคี้ยวกินให้อิ่มและอ้วนพี โดยมิได้สำนึกเลยว่า ความอยากตะกรุม ตะกรามตะกละของตน ที่พยายามกินให้อ้วนนั้น คือการเร่งให้คนฆ่าโค นำตนไปฆ่าให้เร็วขึ้น ชีวิตนี้เหมือนกับหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า พอต้องแสงอาทิตย์และแรงลม พลันก็เหือดหายไป ฉันกำลังจะบอกให้คุณได้รู้ชีวิตนี้ไม่ว่าจะสวยงาม บริสุทธิ์ เล็กน้อยนิดหน่อยขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องตายอยู่ดี
มีคำ กล่าวว่า อายุขัยของมนุษย์ทั้งหลายนั้นน้อยนัก คนมีปัญญาอย่าพึงดูหมิ่น พึงประพฤติดังคนที่มีไฟไหม้อยู่บนศีรษะเถิด อย่าคิดว่าความตายจะยังไม่มาถึงเรา
จงพิจารณาถึงมรณสติ ว่ามีอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตดวงหนึ่งเมื่อเกิด ชื่อว่าชีวิตหนึ่งก็เกิดตาม จิตดวงนั้นดับ ชื่อว่าชีวิตนั้นดับตาม แต่เพราะกายนี้ประกอบด้วยจิตที่เกิดดับจนหาประมาณมิได้ บวกกับความเร็วของที่จิตที่เกิดดับ และความสืบเนื่องกันอย่างถี่ยิบ สัตว์ทั้งหลายจึงมองไม่เห็นชีวิตที่เกิดตายอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตที่ดับไปแล้วเรียกว่า อดีตจิต จิตและชีวิตสัตว์นั้นจึงไม่ชื่อว่าดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่ากำลังดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่าจักดำรงต่อไป ส่วนจิตที่ยังมิได้เกิดเรียกว่า อนาคตจิต ชีวิตและจิตของสัตว์นั้นก็ไม่มีชีวิต ไม่ชื่อว่ามีจิต ไม่ชื่อว่าสัตว์ ไม่ชื่อว่าเป็นจิตและสัตว์แล้ว แต่ได้ชื่อว่ากำลังจะเป็นจิตและสัตว์ต่อไป
ชีวิต อัตภาพ สุขทุกข์ ทั้งมวลของสัตว์นี้ เป็นไปเพียงแค่ชั่วขณะจิตเดียว แต่ที่เห็นว่ายืนยาวเพราะสันตติ ระบบความสืบต่อ ความปรุงแต่งและยึดถือจึงทำให้สัตว์นั้นมองเห็นชีวิต อัตภาพสุขทุกข์ที่มีอยู่ยืนยาว
ชีวิตนี้เมื่อขาดความปรุงแต่ง ความสืบต่อ ชีวิตนี้จึงดูสั้นนัก ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อจักเจริญมรณสติ อาจเจริญพิจารณาข้อใดข้อหนึ่งในแปดข้อ หรือเจริญทุกข้อก็ได้ แต่ขอให้หมั่นเจริญ พิจารณาอยู่ทุกขณะของลมหายใจ จนจิต ลดปลดจากกามคุณเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย สติก็จะมั่นอยู่ในการพิจารณาความตายเป็นอารมณ์ จิตก็จักปลอดจากนิวรณ์ เครื่องครอบจิต องค์คุณแห่งอุปจารฌานก็จักบังเกิดขึ้น
สัตว์ทั้งหลาย ที่มิได้เจริญมรณสติ ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างประมาท มัวเมา เมาในภพ เมาในชาติ เมาในวัย เมาในชีวิตความเป็นอยู่ เมาในรูป รส กลิ่น เสียง เมาในสัมผัส เมาในอำนาจวาสนา เมาในทรัพย์สมบัติ เรือกสวนไร่นา เมาในราคะ โทสะ โมหะ
เมื่อ เป็นผู้เมา ก็คือขาดสติ เมื่อขาดสติก็เป็นเหตุให้ทำกรรมชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำผิด พูดผิด คิดผิด เมื่อชีวิตมีแต่เรื่องผิดและชั่ว ก็เป็นเหตุให้เศร้าหมอง เศร้าหมองทั้งหลับและตื่น กลางวันและกลางคืน ก็เป็นเหตุให้หวาดกลัว กลัวไปต่างๆ นานาแล้วแต่จิตจะพาไปด้วยอำนาจของความเศร้าหมอง พาให้วิตกกังวล ฟุ้งซ่านด้วยใจเศร้า-หมองวิตกหวาดกลัว
ครั้นเมื่อถึงเวลาตาย ย่อมหวาดผวา ไม่กล้าที่จะเผชิญกับความจริง แสดงกิริยาอาการ กระวนกระวาย เป็นทุกข์เดือดร้อน เศร้าโศก ร่ำไรรำพัน พอตายเข้าจริงๆ จิตนี้ก็ไปบังเกิดในภพภูมิ ที่ไม่น่าปรารถนา ต้องได้รับทุกข์ยากเดือดร้อน สุดจะพรรณนา
สำหรับท่านผู้เจริญมรณสติภาวนา ย่อมไม่ประมาทมัวเมาในภพชาติ และลาภสักการะทั้งหลาย มีชีวิตอยู่เพื่อจะสร้างสรรสาระให้โต อย่างรู้ตัว เจียมตัว และกล้าพร้อมที่จะเผชิญกับความตายอย่างมีสติ ไม่หวั่นหวาด ไม่ขลาดกลัว เหตุเพราะได้เห็นความเป็นจริงของจิต ชีวิต โลก ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา มิมีใครจะพ้นจากกติกานี้ไปได้ จิตก็จะสงบสงัด จากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง พอตาย ภพ ชาติ ที่ตนปรารถนา ก็จักบังเกิดขึ้นแก่ตน
เรียกว่าผู้เจริญมรณสติ ภาวนา จักสามารถเลือกภพชาติ ของตนที่จักไปเกิดได้ดังใจปรารถนา
สติ แปลว่า ความระลึก รู้สึกตัว
เพราะฉะนั้น มรณสติ จึงแปลว่า ความระลึกรู้สึกถึงความ ขาดจากภพ หรือระลึกรู้สึกถึงความตาย ที่กำลังปรากฏแก่เรา จักปรากฏแก่เรา
มรณะหรือความตาย มี ๓ ลักษณะคือ
สมุจเฉท มรณะ ได้แก่ ความตัดขาดจากชาติ ภพ ทั้งปวง หรือความตายจากวังวนแห่งวัฏสงสารสภาพเช่นนี้จักมีได้ก็แต่เฉพาะพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าสหรือพระอรหันตสาวกเท่านั้น
ขณิกมรณะ ได้แก่ ความดับ ความขาด ความตายแห่งสังขาร สสาร เซลล์ต่างๆ ภายในกาย และนอกกาย ซึ่งปรากฏ อยู่ตลอดเวลา เช่นผิวหนังของคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดก็มีการแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ตอนเกิดมาใหม่ๆ ผิวหนังของร่างกายนี้ ก็เปราะบาง พอมากระทบกับอุณหภูมิรอบๆ กายภายในโลก ผิวหนังที่บางอ่อนนั้นก็ทนอยู่มิได้ ก็ต้องตายลง ร่างกายจึงต้องสร้างเซลล์ผิวหนังที่แข็งแรง ทนต่อสภาพบีบคั้นเผาผลาญให้ได้ แต่ในที่สุดเซลล์ที่แข็งแรงนั้นก็ต้องตายลงอีกเมื่อถึงกาลอันควร ร่างกายนี้ก็ต้องปรับสภาพ สร้างเซลล์ผิวหนังรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ มีอยู่ในอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้ แม้แต่ผมและเล็บ ส่วนที่สังเกตเห็นการเปลี่ยน แปลงเกิดดับได้ง่ายที่สุด คือ ผมและหนัง ส่วนอวัยวะใดที่เซลล์ เล็กๆ เกิดขึ้น แล้วเกาะกลุ่มรวมกันอย่างหนาแน่น เกิดการควบแน่นจนเข้มแข็ง เช่น กระดูกต่างๆ และเล็บ เราจักสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะหนีพ้นสภาพการเกิดดับไม่ รวมความแล้วขณิกมรณะ มีอยู่ในสรรพสิ่ง สรรพชีวิต และสรรพบุคคลทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่พรหมสมารสที่เรายังเห็นทรงสภาพอยู่ได้ก็เพราะยังไม่หมดกรรม และยังไม่สิ้นอายุขัย
สัมมติมรณะ (การตายในสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ได้แก่การย่อยสลาย แตกหักพัง หมดสภาพ หมดอายุของวัตถุธาตุทั้งหลายรอบๆ กายเรา เช่น แก้วแตก แก้วร้าว กระ-ป๋องรั่ว ชามบิ่นร้าวแตก ภูเขาทลาย แผ่นดินถล่ม ต้นไม้ตาย เหล่านี้เป็นต้น สัมมติมรณะ จักเกิดขึ้นได้ด้วยอาการหมดอายุขัย เสื่อมสภาพ มีเหตุปัจจัย
เหล่านี้คือสภาพแห่งความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้นทุกขณะ ที่ใครก็มิอาจปฎิเสธได้ ไหนๆ มันจักต้องเกิดขึ้นแก่ทุกสรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ องค์พระพุทธะผู้ประเสริฐพระองค์นั้นท่านทรงสอนให้เราต้องไม่เกรงกลัวมัน เหมือนแต่ก่อน แต่ต้องเข้าไปหามันไปทำความรู้จักเข้าใจมันให้ชัดแจ้ง ด้วยสติปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง
เมื่อเรารู้จักเข้าใจสภาพ แห่งความเป็นจริงในตัวมันแล้ว พระพุทธะพระองค์นั้น ก็ทรงสอนให้เรารู้จักที่จะใช้มันให้ประโยชน์กับมันบ้าง แต่ต้องได้ประโยชน์จากมันสูงสุด และสุดท้าย ต้องไม่ยึดติดกับมัน เมื่อมันถึงเวลาที่จะแตกดับ
ทีนี้เราก็มาศึกษาอาการมรณะหรือตาย แห่งกายนี้ว่ามีกี่อย่าง อาการมรณะแห่งกายนี้ท่านสอนเอาไว้ ๒ อย่างคือ
กาลมรณะ กาลมรณะนี้จักเกิดขึ้นได้แก่กายนี้ ด้วยเหตุ เพราะสิ้นบุญและสิ้นบาป หรือเพราะหมดอายุขัย
เพราะ สิ้นบุญ ถ้าจักยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ก็คงต้องยกตัวอย่างเทวดา เทวดาที่บังเกิดในสรวงสวรรค์หรือมนุษย์ที่เกิดในตระกูลดี ชาติดี สมบัติดี ปัญญาดี สุขภาพดี วรรณะดี เหล่านี้ ถือได้ว่าเพราะบุญ จึงทำให้ได้อัตภาพที่ดี ต่อมาเมื่อหมดบุญหรือหมดทุนเก่า ถ้าเป็นเทวดาก็จักแสดงอาการเตือนให้รู้ว่ากำลังจะหมดบุญแล้วนะ เช่น ฉวีวรรณเศร้าหมองลง มีเหงื่อไคลซึมทั่วร่างกาย กลิ่นตัวปรากฏ ประสาทสัมผัสเลวลง แล้วก็มีอาการฟุ้งซ่านหงุดหงิดรำคาญในอัต-ภาพที่เป็นอยู่ ส่วนมนุษย์อาการที่แสดงออกของการหมดบุญก็คือ ทุกอย่างที่มี ดีและเลิศ จักเสื่อมลง อาจจักเสื่อมไม่พร้อมกันหรือพร้อมกันก็ได้ แล้วแต่บุญใครอย่างไหนมากน้อยจนเป็นเหตุให้มิได้รับการยอมรับเชื่อถือ เช่นเชื่อถือว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอายุยืน สุขภาพแข็งแรง แต่อาการที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นกลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามเลยมิได้รับการยอม รับเชื่อถือ จนในที่สุดทั้งเทวดาและมนุษย์ ก็ตามที่มาเกิดได้เพราะมีบุญมาดี มีทุนมามาก เมื่อหมดบุญหมดทุนเก่า คือใช้หมดแล้วก็ต้องถึงกาลมรณะหรือตาย เรียกว่า ตายเพราะหมดบุญ
เพราะสิ้นบาป อันได้แก่ ผู้ที่มีชีวิตเกิดมาตกอยู่ในห้วงแห่งความระทมทุกข์เดือดร้อนทรมานด้วยอาการ ต่างๆ ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือพวกสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัมภเวสี สัตว์เดรัจฉาน และมนุษย์ที่ต้องรับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ซึ่งเวทนานั้นอาจจะติดตัวมาตลอดชีวิต หรือปรากฏขึ้นภายหลังก็ตามที ครั้นสัตว์เหล่านั้นได้ชดใช้บาป หรือกรรมไม่ดีจนหมดสิ้น แล้วก็ถึงกาลมรณะลง เรียกว่า เกิดมาได้ด้วยบาปกรรมชั่ว
ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจเรื่องแห่งความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่า บุญนั้นเป็นสมบัติที่เรามาใช้ บาปนั้นเป็นหนี้ที่เราต้องมาชดใช้
เพราะ สิ้นอายุขัย คำว่าสิ้นอายุขัย หมายรวมไปถึงการสิ้นอายุขัยของเซลล์เล็กๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอวัยวะทั้งผอง ในร่างกายนี้ เมื่อองค์ประกอบทั้งหลายของกายนี้มันได้เสื่อมสภาพ เพราะหมดอายุขัย จึงทำให้กายนี้ต้องตายจากชาติภพปัจจุบัน
มีข้อสังเกตว่า ส่วนใหญ่การตายเพราะหมดอายุขัย มักจะมีแก่คนผู้มีอายุมาก สำหรับผู้มีอายุน้อยแล้วตายเพราะหมดอายุนั้นมักจะไม่ค่อยมี อกาลมรณะ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีเหตุปัจจัยจากบุพกรรม อันหนักที่ตนทำไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็นอดีตกรรมและปัจจุบันกรรม
อายุขัยแห่งบุคคลในพุทธกัป ป์นี้ ควรจักมีสัก ๑๐๐ ปี แต่เมื่อมากระทบกับอดีตกรรม ซึ่งเป็นกรรมอันหนัก ให้ผลอย่างรุนแรง รวดเร็ว แทรกเข้ามาตัดรอนห้วงเวลา อายุ กาลของชีวิตที่ควรจักอยู่ถึงร้อย ให้เหลือน้อยและสั้นลง ทำให้ต้องตายก่อนกำหนด ด้วยทัณฑกรรมต่างๆ ที่ตนทำไว้แต่อดีต เช่น ตายเพราะอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น เดินอยู่ดีๆ บนถนน ต้นไม้ล้มมาทับ ตาย หรือเป็นโรคร้ายแรง จนทำให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย เป็นต้น
ปัจจุบัน กรรม กรรมที่บุคคลกระทำในปัจจุบัน แล้วเป็นผลให้ตนต้องตาย เช่น ทะเลาะวิวาทกัน และโดนทำร้ายจนตาย ประมาทมัวเมา สนุกสนานจนเพลิน เป็นเหตุให้ตนต้องเสียชีวิต เช่น ขับรถแข่งกันแล้วประสบอุบัติเหตุจนตาย หรือไม่ก็ไปก่อเวร-ภัยแก่ผู้อื่น เลยโดนผู้นั้นรุมทำร้ายจนตาย เหล่านี้เป็นกรรมหนักในปัจจุบัน ที่มีเหตุให้แทรกเข้ามาตัดรอนอายุขัยของตนให้สั้นลง
บุคคลผู้ปรารถนา จะเจริญมรณสติ พึงพิจารณาด้วยอาการ ๘ อย่างดังนี้ สัตว์ทุกชนิด เมื่อมีชีวิตต้องรับทัณฑกรรมคือความตาย ในที่สุดพิจารณาให้รู้ชัดลงไปว่า สรรพชีวิตทุกชนิดเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมพาเอาความเสื่อม เก่าแก่ และตาย มาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ประดุจดังชีวิตที่เกิดอยู่ในแดนประหาร มีเพชฌฆาตถือมีดและปืนจ่อรออยู่ เมื่อถึงเวลาก็ลงมือประหารชีวิตนั้นโดยมิรีรอ ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหมือนดั่งพระอาทิตย์ที่ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วกำลังเดินทางไปสู่ทิศตะวันตกในที่สุด แสงนั้นก็ลับหายไปจากขอบฟ้า ไม่มีใ่ครสามารถเรียกให้พระอาทิตย์นั้นเดินทางย้อนกลับมาได้ มีแต่ว่าต้องรอให้ถึงวันใหม่ (นั่นคือการเกิดของอีกชีวิตหนึ่ง) ชีวิตนี้เหมือนดังก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา แล้วกลิ้งลงมาสู่ตีนเขาเบื้องล่าง ไม่สามารถจะหยุดยั้งให้หยุดระหว่างกลางเขาได้ จนท้ายก็ต้องตกลงมากระทบพื้นเบื้องล่างแตกกระจาย น้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่อกระทบกับลมและแดด ย่อมเหือดแห้งไปฉันใด ชีวิตของสรรพ-สัตว์ เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องตายไปฉันนั้น ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงในชีวิตคือความตาย
พิจารณาถึงความวิบัติแห่งสมบัติทั้ง ปวง อันมีทรัพย์สิน เงินทอง ลาภสักการะ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ชื่อเสียง อำนาจวาสนา เรือกสวนไร่นา ข้าทาสบริวารหญิงชาย ทั้งหลายเหล่านี้ มีอันต้อง วิบัติแตกสลาย มลายสูญสิ้นไปในที่สุด แม้แต่องค์อินทร์ยังเสื่อม จากทิพย-สมบัติที่มี เมื่อถึงกาลที่ต้องวิบัติ สาอะไรกับเรา ท่านทั้งหลาย จะรอดพ้นจากวิบัติได้กระนั้นหรือ
สมบัติทั้งหลายจักวิบัติได้ด้วยลักษณะดังนี้
วิบัติโดยความหมดไป สิ้นไป
วิบัติโดยเวรภัยต่างๆ
วิบัติโดยความเสื่อมเก่า คร่ำคร่า
วิบัติโดยความแตกร้าว บุบสลาย ทำลาย พินาศไป
วิบัติโดยความสูญหาย
วิบัติโดยหมดวาสนา บารมี
ระลึก ถึงความตายของผู้อื่น แล้วน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตน เช่น เวลาไปงานศพในที่ต่างๆ หรือฟังข่าวสารการมรณะของคนและสัตว์ ก็ให้น้อมมาระลึกว่า โอ้หนอ....แม้แต่ท่านผู้มียศใหญ่ วาสนาดี มีบุญมาก ซ้ำยังประกอบไปด้วยความแข็งแรง มีกำลังวังชาประดุจดังพญาช้างสาร มีปัญญารอบรู้ เฉลียวฉลาด มีฤทธิ์อำนาจมากมาย ยังต้องตาย สาอะไรกับเรา เป็นผู้ด้อยกว่าเขาด้วยประการทั้งปวง จะล่วงพ้นความตายไปได้กระนั้นหรือ
พิจารณา เปรียบเทียบย้อนไปถึงอดีต แม้แต่พระอรหันต์ผู้เลิศฤทธิ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เลิศญาณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศปัญญา ยังมิอาจพ้นจากความตายได้ จักกล่าวไปไยกับเราผู้เป็นปุถุชนที่อ่อนแอ และโง่-เขลา จักล่วงพ้นจากความตายไปได้ เล่า โอ้หนอ....ความตายนี้ช่างเป็นสาธารณะแก่คนและสัตว์ทั้งหลายเสียจริงๆ
พิจารณา ถึงกายนี้ ว่าเป็นรังของโรค เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นแผ่นหนังห่อหุ้มกายนี้ เมื่อเซลล์ผิวหนังเหล่านี้ตาย ก็จักบังเกิดเซลล์ตัวใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทนเซลล์เหล่านี้เกิดและมีชีวิต อยู่ได้ด้วยน้ำเลือดที่ประกอบด้วยสารอาหารที่กายนี้ดื่มกินเข้าไป แล้วยังต้องอาศัยอากาศที่หมุนวนอยู่รอบๆ กาย น้ำที่ซึมซาบอยู่ในกายเป็นเครื่องอยู่ กายนี้นอก-จากประกอบด้วยเซลล์ผิวหนัง เซลล์เนื้อ เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก เซลล์เยื่อกระดูก เซลล์ไขกระดูก แล้วยังมีเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ อันเป็นองค์ประ-กอบของอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้
สิ่งมีชีวิตที่เป็น เซลล์เล็กๆ เหล่านี้ ต่างพากันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วตายไป สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ จนกว่าเหตุปัจจัยของการเกิดแห่งเซลล์ชีวิตเหล่านี้ จักหมดสิ้นอายุและขาดตอนลง นอกจากกายนี้ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เป็นเซลล์ของร่างกาย แล้วกายนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นอีกหลายชนิด ที่อิงอาศัยเกาะกินส่วนต่างๆ ของกายนี้ เช่น ถ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้น อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จักเกาะกินเซลล์ผิวหนัง อาศัยอยู่ที่เนื้อก็เกาะกินเซลล์เนื้อ อาศัยอยู่ที่พังผืดและเอ็นก็เกาะกินพังผืดและเอ็น อาศัยที่กระดูกก็เกาะกินกระดูก อาศัยอยู่ที่เยื่อกระดูก ก็เจาะกินเยื่อในกระดูกนั้น นอกจากจะเกาะกินเซลล์ต่างๆ ภายในกายนี้แล้ว มันยังขับถ่ายผสมพันธุ์ เกิด ตาย อยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่นั้นอีกด้วย
กาย นี้จึงได้ชื่อว่า เป็นที่อาศัยสาธารณะของสิ่งมีชีวิต หรือเชื้อโรคเล็กๆ ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก กายนี้เป็นที่ผสมพันธุ์ เป็นที่เกิด เป็นที่ถ่ายของเสีย เป็นที่หมักหมมของโสโครก เป็นป่าช้า เป็นรังของโรคร้ายต่างๆ
นอกจากกายนี้เป็นป่าช้า คือ เป็นที่ตายของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้ว เป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายแก่กายนี้แล้ว กายนี้ยังมีเหตุให้ถึงแก่ความตายอย่างง่ายดายจากภายนอกอีกนานัปการ เช่น โดนสัตว์มีพิษน้อยใหญ่ขบกัดตาย โดนอาวุธซัดตาย หกล้มตาย ตกจากที่สูงตาย ได้รับอุบัติภัยต่างๆ แล้วตาย เกิดลมกำเริบภายในแล้วตาย หิวตาย กระหาย ตาย อิ่มตาย ฯลฯ
พิจารณาให้เห็นว่า เหตุของความตายแห่งกายนี้มีมากมาย ง่ายดายเหลือเกิน ตายได้โดยมิเลือกเวลา นาที วัน เดือน ปี และสถานที่
พิจารณาให้เห็นว่า กายนี้มีความตายเป็นสาธารณะ
พิจารณา ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ชีวิตนี้เป็นภาระยิ่งนัก เป็นความรุงรังที่ต้องคอยบริหาร ชีวิตนี้เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ไม่มีคุณสมบัติที่จักดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง กายนี้จำต้องพึ่งพิงอิง อาศัยสรรพชีวิต สรรพสิ่งต่างๆ มากมาย เช่นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ยังต้องอาศัยบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง อุปการะเลี้ยงดู ต้องอาศัยอากาศหายใจ กายนี้ต้องอิงอาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และปัจจัยต่างๆ อีกมากมาย
ชีวิตนั้นนอกจากจะต้องพึ่งพิง อิงอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมายแล้ว ชีวิตและกายนี้ ยังต้องอาศัยความพยายามที่จักมีบริหาร ให้อยู่ในอิริยาบถ ๔ อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน จักขาดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งมิได้ และจักมีอิริยาบถใดมากเกิน ไปก็เจ็บปวดเป็นทุกข์ทรมาน จนบางครั้งบางท่านถึงขนาดล้มป่วย และตายลงในที่สุด
กายนี้นอกจากจะ ไม่มีเอกภาพ ในความดำรงอยู่ด้วยตัวเองแล้ว กายนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ต้องอิงอาศัยการบริหารจัดการ ดูแลรักษาให้ธาตุทั้ง ๔ ภายในภายนี้ ดำรงสมดุลต่อกันและกัน ต้องเพียรพยายาม ประคับประคองมิให้ธาตุใดกระเพื่อมพร่องเกิน มิเช่นนั้นกายนี้ ก็จักตั้งอยู่มิได้ จะต้องได้รับทุกข์ทรมานเจ็บปวดจนตาย
เพราะฉะนั้น ชีวิตและกายนี้จึงเป็นสิ่งที่ทุพพลภาพ พร่องอยู่ตลอดเวลา เราทั้งหลายจึงต้องมีงานอันหนัก ตั้งแต่เกิดจนตาย
ชีวิต ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเครื่องหมายว่าจักตายในขณะใด บางพวกอาจตายเสียก่อนตั้งแต่ยังเป็นดวงจิตวิญญาณ ที่ล่องลอยไปตามอำนาจกรรมก็มี บางพวกอาจจักตาย ในขณะที่เป็นเปรตเสียก็มี บางพวกก็ตายในขณะที่เป็นก้อนเนื้ออยู่ในครรภ์มารดาได้ ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ เดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน บางพวก ก็ตายหลังจากออกมาจากครรภ์มารดาแล้วก็มี
ชีวิตและกายนี้ ไม่แน่ว่าจักตายในขณะใด จักตายเวลาไหน จักตายด้วยโรคอะไร ตายด้วยอาการเช่นไร ตาย ณ สถานที่ไหน
ความ ตายเป็นของไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนต้องตาย เมื่อตายแล้วก็ไม่แน่ว่า จักไปเกิดในที่ใด บางพวกตายจากอัตภาพเทวดา ก็มิใช่ว่าจักมาเกิดเป็นมนุษย์ อาจจะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือสัตว์นรกก็ได้ บางพวกตายจากมนุษย์ก็ไม่แน่ว่าจะไม่เกิดเป็นสัตว์นรก หรือสัตว์เดรัจฉาน อาจจักไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ แล้วแต่บุญทำ กรรมส่ง ชีวิตนี้ จึงดูมิได้มีเครื่องหมายบอกให้เรารู้เสียเลยจริงๆ
สมองให้เห็นตาม เป็นจริงว่า เวลาแห่งชีวิตนี้น้อยนัก บางพวกก็มีอายุแค่หนึ่งร้อย ส่วนที่เกินร้อยนั้นมีน้อยนัก ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ไม่ถึงร้อย ชีวิตนี้มักจะมีอายุขัยน้อยนัก อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบดังฟองน้ำที่ปรากฏบนผิวน้ำ บัดเดี๋ยวก็แตกกระจาย ชีวิตและร่างกายนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างมีเวลาและวาสนาในการดำรงชีวิตอยู่ไม่เท่ากัน เหมือนดังฟองน้ำบนผิวน้ำ ที่ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง และในที่สุดก็จักต้องแตกดับลงอย่างรวดเร็ว อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงบนพื้นผิวน้ำปรากฏประเดี๋ยว เดียวก็หายไป ดูว่าชีวิตช่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เสียจริงๆ แม้แต่สรรพสิ่งที่เกี่ยว-ข้องกับชีวิต เมื่อปรากฏขึ้นแล้ว ก็มิได้มีอะไรคงทนถาวร ตลอดกาล ตลอดสมัยเหมือนน้ำตกที่ไหลจากที่สูง มีแต่จักไหลลงไปสู่เบื้องล่างแต่ถ่ายเดียว ชีวิตไม่ว่าจักเริ่มต้นจากสูง ต่ำ ปานกลาง ยาว สั้น เล็ก ใหญ่ ประการใด สุดท้ายก็ต้องตกลงไปสู่ความตายในที่สุด ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธ ได้เหมือนดังน้ำที่ไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอมิมีใครห้ามได้ เหมือนชิ้นเนื้อที่วางไว้บนกะทะเหล็กที่ร้อนแรง เนื้อนั้นก็มีแต่จักไหม้ไปโดยเร็ว
ความเป็นไปของชีวิตนี้ ไม่ว่าจักมั่งมีมากมายหรือจนยากลำบากทั้ง-หลาย เลวดี หรือมีสุข ทุกข์ อย่างไร ถ้าชีวิตตั้งอยู่บนความประมาท ขาดปัญญา ที่สุดตนก็ต้องรับโทษ ทุกข์ภัย ทรมานกายใจ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนดังชิ้นเนื้อที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังระเริงอยู่บนกะทะที่ตั้งไฟ หรือเหมือนกับ โคที่เขาเลี้ยง เอาไว้เพื่อฆ่า นับวันก็ยิ่งใกล้วันโดนฆ่าเข้าไปทุกที ความประมาท มัวเมา ในกามคุณทั้งหลาย โดยไม่คำนึงถึงความตายคงไม่ต่างอะไรกับโคที่เห็นหญ้าอ่อน แล้วตรงรี่เข้าไปหาเพื่อแทะเล็ม เคี้ยวกินให้อิ่มและอ้วนพี โดยมิได้สำนึกเลยว่า ความอยากตะกรุม ตะกรามตะกละของตน ที่พยายามกินให้อ้วนนั้น คือการเร่งให้คนฆ่าโค นำตนไปฆ่าให้เร็วขึ้น ชีวิตนี้เหมือนกับหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า พอต้องแสงอาทิตย์และแรงลม พลันก็เหือดหายไป ฉันกำลังจะบอกให้คุณได้รู้ชีวิตนี้ไม่ว่าจะสวยงาม บริสุทธิ์ เล็กน้อยนิดหน่อยขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องตายอยู่ดี
มีคำ กล่าวว่า อายุขัยของมนุษย์ทั้งหลายนั้นน้อยนัก คนมีปัญญาอย่าพึงดูหมิ่น พึงประพฤติดังคนที่มีไฟไหม้อยู่บนศีรษะเถิด อย่าคิดว่าความตายจะยังไม่มาถึงเรา
จงพิจารณาถึงมรณสติ ว่ามีอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตดวงหนึ่งเมื่อเกิด ชื่อว่าชีวิตหนึ่งก็เกิดตาม จิตดวงนั้นดับ ชื่อว่าชีวิตนั้นดับตาม แต่เพราะกายนี้ประกอบด้วยจิตที่เกิดดับจนหาประมาณมิได้ บวกกับความเร็วของที่จิตที่เกิดดับ และความสืบเนื่องกันอย่างถี่ยิบ สัตว์ทั้งหลายจึงมองไม่เห็นชีวิตที่เกิดตายอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตที่ดับไปแล้วเรียกว่า อดีตจิต จิตและชีวิตสัตว์นั้นจึงไม่ชื่อว่าดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่ากำลังดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่าจักดำรงต่อไป ส่วนจิตที่ยังมิได้เกิดเรียกว่า อนาคตจิต ชีวิตและจิตของสัตว์นั้นก็ไม่มีชีวิต ไม่ชื่อว่ามีจิต ไม่ชื่อว่าสัตว์ ไม่ชื่อว่าเป็นจิตและสัตว์แล้ว แต่ได้ชื่อว่ากำลังจะเป็นจิตและสัตว์ต่อไป
ชีวิต อัตภาพ สุขทุกข์ ทั้งมวลของสัตว์นี้ เป็นไปเพียงแค่ชั่วขณะจิตเดียว แต่ที่เห็นว่ายืนยาวเพราะสันตติ ระบบความสืบต่อ ความปรุงแต่งและยึดถือจึงทำให้สัตว์นั้นมองเห็นชีวิต อัตภาพสุขทุกข์ที่มีอยู่ยืนยาว
ชีวิตนี้เมื่อขาดความปรุงแต่ง ความสืบต่อ ชีวิตนี้จึงดูสั้นนัก ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อจักเจริญมรณสติ อาจเจริญพิจารณาข้อใดข้อหนึ่งในแปดข้อ หรือเจริญทุกข้อก็ได้ แต่ขอให้หมั่นเจริญ พิจารณาอยู่ทุกขณะของลมหายใจ จนจิต ลดปลดจากกามคุณเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย สติก็จะมั่นอยู่ในการพิจารณาความตายเป็นอารมณ์ จิตก็จักปลอดจากนิวรณ์ เครื่องครอบจิต องค์คุณแห่งอุปจารฌานก็จักบังเกิดขึ้น
สัตว์ทั้งหลาย ที่มิได้เจริญมรณสติ ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างประมาท มัวเมา เมาในภพ เมาในชาติ เมาในวัย เมาในชีวิตความเป็นอยู่ เมาในรูป รส กลิ่น เสียง เมาในสัมผัส เมาในอำนาจวาสนา เมาในทรัพย์สมบัติ เรือกสวนไร่นา เมาในราคะ โทสะ โมหะ
เมื่อ เป็นผู้เมา ก็คือขาดสติ เมื่อขาดสติก็เป็นเหตุให้ทำกรรมชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำผิด พูดผิด คิดผิด เมื่อชีวิตมีแต่เรื่องผิดและชั่ว ก็เป็นเหตุให้เศร้าหมอง เศร้าหมองทั้งหลับและตื่น กลางวันและกลางคืน ก็เป็นเหตุให้หวาดกลัว กลัวไปต่างๆ นานาแล้วแต่จิตจะพาไปด้วยอำนาจของความเศร้าหมอง พาให้วิตกกังวล ฟุ้งซ่านด้วยใจเศร้า-หมองวิตกหวาดกลัว
ครั้นเมื่อถึงเวลาตาย ย่อมหวาดผวา ไม่กล้าที่จะเผชิญกับความจริง แสดงกิริยาอาการ กระวนกระวาย เป็นทุกข์เดือดร้อน เศร้าโศก ร่ำไรรำพัน พอตายเข้าจริงๆ จิตนี้ก็ไปบังเกิดในภพภูมิ ที่ไม่น่าปรารถนา ต้องได้รับทุกข์ยากเดือดร้อน สุดจะพรรณนา
สำหรับท่านผู้เจริญมรณสติภาวนา ย่อมไม่ประมาทมัวเมาในภพชาติ และลาภสักการะทั้งหลาย มีชีวิตอยู่เพื่อจะสร้างสรรสาระให้โต อย่างรู้ตัว เจียมตัว และกล้าพร้อมที่จะเผชิญกับความตายอย่างมีสติ ไม่หวั่นหวาด ไม่ขลาดกลัว เหตุเพราะได้เห็นความเป็นจริงของจิต ชีวิต โลก ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา มิมีใครจะพ้นจากกติกานี้ไปได้ จิตก็จะสงบสงัด จากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง พอตาย ภพ ชาติ ที่ตนปรารถนา ก็จักบังเกิดขึ้นแก่ตน
เรียกว่าผู้เจริญมรณสติ ภาวนา จักสามารถเลือกภพชาติ ของตนที่จักไปเกิดได้ดังใจปรารถนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น